นิดนึงค่ะ

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างคดีครอบครัว

หัวข้อสนทนา :  เป็นคดีครอบครัวหรือไม่ ฟ้องศาลไหนดี

ข้อเท็จจริงคือ สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากัน แล้วทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าว่า สามีจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้ภายใน 1 เดือน แต่เมื่อครบแล้วไม่ยอมจดทะเบียนโอนให้ ภริยาจึงจะฟ้องคดีนี้ แต่ยังฉงงว่าฟ้องที่ศาลใดระหว่างศาลเยาวชนฯหรือศาลคดีธรรมดา เพราะมีฎีกาอยู่ 2 แนวที่น่าจะขัดกัน
แนวแรก
ฎีกาที่ 5496/2549 โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนการหย่าว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งหมด ส่วนหนี้สินอื่น ๆ กับสถาบันการเงินภายในสองจังหวัดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันหย่า โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระหนี้ทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องของการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แต่จำเลยต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้โจทก์ และโจทก์ต้องชำระหนี้แทนจำเลย ถือได้ว่ามีการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อมิได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยจะต้องโอนทรัพย์สินให้โจทก์ก่อน โจทก์จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงพร้อมกันไป การที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้โจทก์ ตามมาตรา 369 โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะที่เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมาบังคับจำเลยไม่ได้
...ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน
แนวที่สอง
ฎีกาที่ 808/2537 โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า จำเลยให้การโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงแก่โจทก์ จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว
ฎีกาที่ 38/2537บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา
ศาลฎีกา พิพากษายืน..
ที่มาhttp://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1806288

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น