นิดนึงค่ะ

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายเด็กใหม่ ตร.จับได้ต้องส่งศาลทันที

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน
โดยหลังจากเที่ยงคืนวันที่ 22 พ.ค. พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิถีพิจารณาคดีและครอบครัว 2553 ได้มีผลบังคับใช้
กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพและวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อนุสัญญาเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ…
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเด็กและเยาวชนมีวุฒิภาวะที่แตกต่างจาก ผู้ใหญ่ทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และพฤติกรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิด ดังนั้น จึง ต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและ เยาวชนไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดาทั่วไปเพื่อสวัสดิภาพของเด็กและ เยาวชน
ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวครอบคลุมทุกจังหวัดทั่ว ประเทศ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ดังกล่าว กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีซึ่ง เด็กและเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดตามพระราชบัญญัติอื่นๆ
คดีอาญาที่โอนมาจากศาลธรรมดาในกรณีที่จำเลยอายุยังไม่เกิน 20 ปีบริบรูณ์ เนื่องจากศาลที่พิจารณาคดีนั้นได้พิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตและนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกันเด็กและเยาวชน
คดีครอบครัว คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ และคดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว
คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น โดย “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม ที่กำหนดให้ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม ที่กำหนดให้ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ การแก้ไขเรื่องอายุเด็กและเยาวชนเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา
การออกหมายจับเด็กและเยาวชนให้ศาลคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องอายุ เพศ และอนาคตของเด็กหรือเยาวชนที่พึงได้รับการพัฒนาและปกป้องคุ้มครอง หาก การออกหมายจับจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กหรือเยาวชนอย่างรุนแรงโดย ไม่จำเป็น ให้พยายามเลี่ยงการออกหมายจับ โดยใช้วิธีติดตามตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยวิธีอื่นก่อน
การจับกุมและควบคุมเด็กและเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
จากนี้ไปเมื่อตำรวจจับกุมเด็กและเยาวชน ทั้งในคดีความผิดซึ่งหน้าหรือจับตามหมายศาล หลังจับกุมต้องนำตัวเด็กส่งศาลเยาวชนและครอบครัวทันที เพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุม ตำรวจไม่ต้องนำตัวเด็กและเยาวชนส่งสถานพินิจฯ ภายใน 24 ช.ม.เหมือนในอดีต ส่วนขั้นตอนใหม่หลังจากนี้ เมื่อตำรวจส่งตัวเด็กและเยาวชนที่ถูกจับตัวส่งให้ศาลเยาวชนฯ ศาลจะเป็นผู้พิจาณาว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ หากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะประสานผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ให้มารับตัวเด็กและเยาวชน เพื่อนำตัวไปเข้าสู่กระบวนการสืบเสาะประวัติ ก่อนทำความเห็นในการบำบัดฟื้นฟู เสนอศาลประกอบการพิจารณา ส่วนกรณีศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทางสถานพินิจฯ ก็จะสืบเสาะประวัติครอบครัว พร้อมเสนอรายงานการบำบัดฟื้นฟูเสนอศาลเช่นกัน
นอกจากนั้น ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชน หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือ บันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน การสอบสวนต้องกระทำในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยว ข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
กฎหมายใหม่ได้เพิ่มมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเข้ามา เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนการดำเนินคดีตามช่องทางปกติ เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เด็ก
ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดีเมื่อคำนึงถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำความผิดแล้ว หากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดี ได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน บรรเทา ทดแทน หรือชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและ สังคม แล้วเสนอความเห็นประกอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย
หากพนักงานอัยการเห็นว่าแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้พนักงานอัยการ เห็นชอบกับแผนดังกล่าว และให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูดังกล่าวได้ทันที พร้อมทั้งให้รายงานให้ศาลทราบ
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่ากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร
การพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้กระทำ เป็นการลับ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ ทั้งมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อ ความปลอดภัยโดยการเปลี่ยนโทษจำคุกหรือกักกัน เป็นการส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมในสถานที่ที่กำหนดไว้ หรือสถานที่อื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและศาลเห็นสมควร ตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ หรือการเปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ
การที่เด็กกระทำความผิดอาจเกิดจากบิดามารดาปล่อยปะละเลยหรือบุคคลอื่นชักจูงหรือส่งเสริม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3) กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็ก (บุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) ประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด ผู้ฝ่าฝ่าฝืนต้องรับผิดทางอาญาจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น บิดามารดาหรือบุคคลอื่นใดอาจต้องรับโทษทางอาญาหากฝ่าฝืนกฎหมายโดยยินยอมให้ เด็กกระทำความผิด
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญของชาติใน อนาคต หากเด็กและเยาวชนได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ได้รับการส่งเสริมให้มีความประพฤติดี มีคุณธรรมและปลูกฝังให้มีจิตสำนึกที่ดี ย่อมเป็นผลดีแก่สังคมและประเทศชาติ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กและ เยาวชนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีและป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคต ของชาติกระทำความผิดซ้ำอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น