นิดนึงค่ะ

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ละเมิดอำนาจศาล

ละเมิดอำนาจศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐ บัญญัติ ว่า “ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อ รักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลและเพื่อให้กระบวนพิจารณา ดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง การสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญ หรือในทางประวิงให้ชักช้า หรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร”
คนที่จะมีความรู้สึกเดียวกันต้องเคยอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน คนที่ไม่เคยอึดอัดจะไม่รู้ว่าความอึดอัดเป็นอย่างไร
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกรายหนึ่งฟ้องแบ่งมรดกของบิดา จากทายาทด้วยกัน

วันขึ้นศาลทายาทคนหนี่งซึ่งเป็นโจทย์ฟ้องคดีเป็นทายาทของเจ้ามรดกชื่อ “บุญทิ้ง”
ในห้องพิจารณานั่งกระสับกระส่ายวิตกว่า ศาลถามจะพูดกับ ศาลใช้ถ้อยคำ สำนวนอย่างไร ผุดลุกผุดนั่ง อันมีลักษณะเป็นการก่อความรำคาญ
ศาลขึ้นบัลลังก์เห็นว่า…บุญทิ้งนั่งกระสับกระส่ายผุดลุกผุดนั่งศาลจึงชี้ไปที่บุญทิ้งแล้วถามว่า
ศาล     : เราชื่ออะไร
บุญทิ้งไม่แน่ใจ จึงไม่ตอบ ศาลจึงชี้ไปที่บุญทิ้งแล้วถามย้ำว่า
ศาล     : เรานั่นแหละ ชื่ออะไร
บุญทิ้ง  : ชื่อบุญทิ้งพะย่ะค่ะ
ศาล      : เกี่ยวข้องอะไรกับเจ้าของมรดก
บุญทิ้ง   : เป็นโอรสพะย่ะค่ะ
ศาล      : มาศาลเรื่องอะไร
บุญทิ้ง   : แย่งราชสมบัติพะย่ะค่ะ

ที่มา http://www.thailawstation.com/%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%a5/

ซ่อมคอมฯอยู่อาจถูกฟ้อง

ซ่อมคอมฯ อยู่อาจถูกฟ้อง

   ปัญหาข้างต้นมันคงเกิดขึ้นจากการที่บริษัทเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปซ่อม แล้วทางช่างคงเห็นว่าหมดทางเยียวยาก็เลย Format Harddisk ซะเลย แล้วลงโปรแกรมกับ Application ต่างๆให้ใหม่หมด แต่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทดันถูกลบไปหมดน่ะสิ แล้วทีนี้จะทำยังไงดี?
          เรื่องที่บริษัทเขาจะฟ้องร้องช่างก็คือ ช่างจงใจหรือความประมาทเลินเล่อทำให้ข้อมูลสำคัญต่างๆของบริษัทสูญหายไป
          ส่วนช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ คงโต้แย้งว่า ข้อมูลของทางบริษัทเองคุณควรจะต้องสำรองข้อมูลไว้สิ แล้วการที่เอาคอมพิวเตอร์มาให้ช่างซ่อมก็ย่อมคาดหมายได้อยู่แล้วว่าอาจต้องมีการ Format Harddisk การจะมากะเกณฑ์ให้ช่างทำการสำรองข้อมูลให้ มันนอกเหนืออำนาจหน้าที่
          จะว่าไปก็มีเหตุผลทั้งคู่ แต่ไม่แน่ใจว่าศาลท่านจะวินิจฉัยว่าอย่างไร แต่ถ้าตัดสินออกมาแล้วก็คงจะเป็นบรรทัดฐานกับทั้งบริษัทและช่างซ่อมล่ะครับว่า ใครมีหน้าที่ในการสำรองข้อมูล แล้วกรณีที่ช่างไม่สำรองข้อมูลก่อน Format Harddisk จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่
          หลักที่ศาลท่านจะใช้วินิจฉัยน่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการทำงานของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ว่าการ Format Harddisk น่ะเป็นวิธีการซ่อมตามปกติหรือเปล่า แล้วโดยทั่วไปก่อนจะลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะต้องถามเจ้าของเครื่องก่อนหรือไม่ ในฐานะที่ผมก็มีโอกาสเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์กับเขาเหมือนกัน ผมก็เห็นว่าก่อนช่างจะลบข้อมูลก็ควรถามผมสักนิดครับว่าผมสำรองข้อมูลไว้หรือยัง จะได้ไม่มีปัญหามาฟ้องร้องเรื่องกันทีหลัง

ที่มาhttp://www.thailawstation.com/%e0%b8%8b%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%af%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%96%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87/

การพนันออนไลน์ผิดกฎหมายหรือไม่

การพนันออนไลน์ผิดกฎหมายหรือไม่?


การพนัน ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจุบันก็ใช้บังคับมากว่า 70 ปี แล้ว แม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามเล่นการพนัน แต่ก็มีกระแสเรียกร้องเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มีการเปิดบ่อนเสรี ซึ่งจนถึงปัจจุบันกระแสเรียกร้องดังกล่าวก็ยังไม่ปรากฎเป็นจริง ดังนั้นในปัจจุบันก็ต้องถือว่าการพนันยังผิดกฎหมายอยู่
          ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภทโดยแยกออกเป็นบัญชี ก. และบัญชี ข. ประการแรกที่อยู่ในบัญชี ก. นั้น กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด ซึ่งก็ได้แก่ หวย ประเภท ก.และข. ไฮโลว์ ไพ่ต่าง ๆ
ส่วนประเภทที่สองที่อยู่ในบัญชี ข. นั้นเล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน ซึ่งรายละเอียดการพนันประเภทใดอยู่ในบัญชี ก.หรือบัญชี ข. นั้นจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดในที่นี้
          กฎหมายไทยห้ามทั้งการจัดให้มีการเล่นการพนันและการเข้าเล่นการพนัน สำหรับเว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตตอนนี้ก็มีอยู่มากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไพ่ต่าง ๆ สล็อตแมชชีน ซึ่งก็ถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ที่ห้ามจัดให้มีการเล่นโดยเด็ดขาด รวมถึงห้ามเข้าเล่นด้วย
          หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี แต่โอกาสที่จะถูกจับบอกกันตามตรงว่ายาก เพราะตามหลักอาชญาวิทยาแล้ว ความผิดเกี่ยวกับการพนันถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีผู้เสียหาย (Victimless Crime) ซึ่งโดยปกติก็มีความยุ่งยากในการป้องกันและปราบปรามอยู่แล้ว ถ้าไม่มีพลเมืองดีแจ้งตำรวจหรือตำรวจไม่ไปคอยจ้องติดตามจริง ๆ ก็อาจจับผู้เล่นการพนันไม่ได้ เว้นแต่เขาจะเปิดเป็นบ่อนอย่างโจ่งแจ้ง แต่ถ้าเป็นการเล่นการพนันในบ้านเรือนแล้ว คงติดตามจับกุมได้ยาก ยิ่งเป็นการเล่นบนอินเตอร์เน็ตด้วยแล้ว ถ้าจะไปติดตามจับกุมคงยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของทางภาครัฐ แต่ถึงจะติดตามจับกุมได้ยากก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าจะจับแล้วเขาจะจับเราไม่ได้ล่ะ
ที่มา http://www.thailawstation.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%87%e0%b8%95/

สอบตำรวจ 2555


สอบตำรวจ ปี2555 สอบนายสิบตำรวจ แนวข้อสอบตำรวจ เฉลยข้อสอบนายร้อยตำรวจ ชั้นประทวนบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิปริญญาตรี ม.6 ปวช.สอบบุคลภายใน ตำรวจชั้นประทวนเป็นสัญญาบัตร

2เม.ย.2555 สมัครสอบตำรวจชั้นประทวนหมื่นอัตรา วุฒิม 6 ปวช.
มาแล้วสำหรับผู้รอคอยการสมัครสอบตำรวจชั้นประทวน 2555 กำหนดแน่นอนแล้ววันที่ 2 เมษายน 2555 รับ 10,000 อัตรา แบ่งเป็นสายปราบปราม 9,500 อัตรา และสายอำนวยการ 500 อัตรา รับวุฒิ ม.6 และ ปวช


กำหนดการรับสมัครตำรวจชันประทวน 2555
ประกาศรับสมัคร  2 เมษายน 2555
รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต 10 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2555
สำหรับกำหนดการอื่นๆจะประกาศเพิ่มเติม
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก  เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีหนังสือราชการด่วนที่สุดจากกองบัญชาการศึกษา(บช.ศ.) ขออนุมัติหลักการในการดำเนินการรับสมัครบุคคลภายนอกเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ชั้นพลตำรวจหรือชั้นประทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จำนวน 10,000 อัตรา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ระดับชั้นพลตำรวจ รับสมัครจากบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ(นสต.) กว่า 9,500 อัตรา โดยใช้วิธีการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบแยกเป็น นสต. ชาย 9,050 อัตรา นสต.หญิง 450 อัตรา 
      และระดับชั้นประทวนรับสมัครจากบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ทำหน้าที่ธุรการ) ในกลุ่มงานอำนวยการ 500 อัตรา โดยวิธีการสอบแข่งขัน ซึ่งตามนัยหนังสือดังกล่าวได้มอบหมายให้ บช.ศ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มออกประกาศรับสมัครและประกาศรับสมัครในวันที่ 2 เม.ย.นี้ รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต 10 เม.ย. - 3 พ.ค.55 เป็นต้นไป
ที่มา http://สอบตํารวจ.blogspot.com/ สำหรับคุณสมบัติผู้สมัครสอบของปี 2555 มีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้ - ผู้สมัครต้องมีพื้นฐานความรู้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 27 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันปิดรับสมัคร โดยต้องผ่านการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร และ/หรือ ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินตามกฎหมายแล้วแต่กรณี - ร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร และรอบอกหายใจออกเต็มที่ไม่น้อยกว่า 77 เซนติเมตร หายใจเข้าเต็มที่ไม่น้อยกว่า 88 เซนติเมตร ที่มา http://jobparttimes.com/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87.html

ตัวอย่างคดีครอบครัว

หัวข้อสนทนา :  เป็นคดีครอบครัวหรือไม่ ฟ้องศาลไหนดี

ข้อเท็จจริงคือ สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากัน แล้วทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าว่า สามีจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้ภายใน 1 เดือน แต่เมื่อครบแล้วไม่ยอมจดทะเบียนโอนให้ ภริยาจึงจะฟ้องคดีนี้ แต่ยังฉงงว่าฟ้องที่ศาลใดระหว่างศาลเยาวชนฯหรือศาลคดีธรรมดา เพราะมีฎีกาอยู่ 2 แนวที่น่าจะขัดกัน
แนวแรก
ฎีกาที่ 5496/2549 โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนการหย่าว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งหมด ส่วนหนี้สินอื่น ๆ กับสถาบันการเงินภายในสองจังหวัดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันหย่า โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระหนี้ทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องของการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แต่จำเลยต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้โจทก์ และโจทก์ต้องชำระหนี้แทนจำเลย ถือได้ว่ามีการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อมิได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยจะต้องโอนทรัพย์สินให้โจทก์ก่อน โจทก์จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงพร้อมกันไป การที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้โจทก์ ตามมาตรา 369 โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะที่เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมาบังคับจำเลยไม่ได้
...ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน
แนวที่สอง
ฎีกาที่ 808/2537 โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า จำเลยให้การโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงแก่โจทก์ จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว
ฎีกาที่ 38/2537บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา
ศาลฎีกา พิพากษายืน..
ที่มาhttp://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1806288
รายชื่อคณะนิติศาสตร์ในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดการเรียนการสอนคณะ, ภาควิชา, สาขาวิชา, สำนักวิชานิติศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคกลาง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอุดร
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโยนก
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยศรีโสภณ
คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
หลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก
วิทยาลัยศรีอีสาน(คณาสวัสดิ์)
สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์ (วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ)
สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
อาชีพนักกฏหมาย
ลักษณะงาน
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ร่างกฎหมาย ให้บริการกฎหมายอื่น ๆ การจัดทำเกี่ยวกับกฎหมาย การว่าความคดีอาญาและคดีแพ่งให้คำแนะนำแก่ลูกความเกี่ยวกับปัญหาบุคคลและธุรกิจในแง่ของกฎหมายทำแทนลูกความในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในนามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง
คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ
1. เป็นผู้มีสามัญสำนึกที่ดี มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบ
2. มีจรรยาบรรณ รู้จักเคารพในสิทธิของคนอื่น
3. มีความละเอียดรอบคอบถี่ถ้วน
4. มีความสามารถและความถนัดในการใช้ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
5. มีความสนใจใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น มีลักษณะความเป็นผู้นำมีบุคลิกภาพดี
6. มีความสำนึกทางสังคม และมีความรับผิดชอบในวิชาชีพของนักกฎหมาย
การศึกษาและการฝึกอบรม
มีความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาต่าง ๆ ศึกษาต่อสาขานิติศาสตร์คณะนิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
เป็นนักกฎหมาย ทนายความ นิติกร ที่ปรึกษากฎหมาย ตุลาการ อัยการ ผู้พิพากษา ตำรวจ นักปกครอง เจ้าหน้าที่สรรพากร เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักการเมือง นักธุรกิจ และครู-อาจารย์ เป็นต้น หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ได้ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ที่มา http://202.29.138.73/gi/lawyer.html
กฎหมายเด็กใหม่ ตร.จับได้ต้องส่งศาลทันที

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน
โดยหลังจากเที่ยงคืนวันที่ 22 พ.ค. พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิถีพิจารณาคดีและครอบครัว 2553 ได้มีผลบังคับใช้
กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพและวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อนุสัญญาเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ…
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเด็กและเยาวชนมีวุฒิภาวะที่แตกต่างจาก ผู้ใหญ่ทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และพฤติกรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิด ดังนั้น จึง ต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและ เยาวชนไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดาทั่วไปเพื่อสวัสดิภาพของเด็กและ เยาวชน
ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวครอบคลุมทุกจังหวัดทั่ว ประเทศ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ดังกล่าว กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีซึ่ง เด็กและเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดตามพระราชบัญญัติอื่นๆ
คดีอาญาที่โอนมาจากศาลธรรมดาในกรณีที่จำเลยอายุยังไม่เกิน 20 ปีบริบรูณ์ เนื่องจากศาลที่พิจารณาคดีนั้นได้พิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตและนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกันเด็กและเยาวชน
คดีครอบครัว คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ และคดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว
คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น โดย “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม ที่กำหนดให้ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม ที่กำหนดให้ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ การแก้ไขเรื่องอายุเด็กและเยาวชนเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา
การออกหมายจับเด็กและเยาวชนให้ศาลคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องอายุ เพศ และอนาคตของเด็กหรือเยาวชนที่พึงได้รับการพัฒนาและปกป้องคุ้มครอง หาก การออกหมายจับจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กหรือเยาวชนอย่างรุนแรงโดย ไม่จำเป็น ให้พยายามเลี่ยงการออกหมายจับ โดยใช้วิธีติดตามตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยวิธีอื่นก่อน
การจับกุมและควบคุมเด็กและเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
จากนี้ไปเมื่อตำรวจจับกุมเด็กและเยาวชน ทั้งในคดีความผิดซึ่งหน้าหรือจับตามหมายศาล หลังจับกุมต้องนำตัวเด็กส่งศาลเยาวชนและครอบครัวทันที เพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุม ตำรวจไม่ต้องนำตัวเด็กและเยาวชนส่งสถานพินิจฯ ภายใน 24 ช.ม.เหมือนในอดีต ส่วนขั้นตอนใหม่หลังจากนี้ เมื่อตำรวจส่งตัวเด็กและเยาวชนที่ถูกจับตัวส่งให้ศาลเยาวชนฯ ศาลจะเป็นผู้พิจาณาว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ หากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะประสานผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ให้มารับตัวเด็กและเยาวชน เพื่อนำตัวไปเข้าสู่กระบวนการสืบเสาะประวัติ ก่อนทำความเห็นในการบำบัดฟื้นฟู เสนอศาลประกอบการพิจารณา ส่วนกรณีศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทางสถานพินิจฯ ก็จะสืบเสาะประวัติครอบครัว พร้อมเสนอรายงานการบำบัดฟื้นฟูเสนอศาลเช่นกัน
นอกจากนั้น ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชน หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือ บันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน การสอบสวนต้องกระทำในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยว ข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
กฎหมายใหม่ได้เพิ่มมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเข้ามา เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนการดำเนินคดีตามช่องทางปกติ เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เด็ก
ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดีเมื่อคำนึงถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำความผิดแล้ว หากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดี ได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน บรรเทา ทดแทน หรือชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและ สังคม แล้วเสนอความเห็นประกอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย
หากพนักงานอัยการเห็นว่าแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้พนักงานอัยการ เห็นชอบกับแผนดังกล่าว และให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูดังกล่าวได้ทันที พร้อมทั้งให้รายงานให้ศาลทราบ
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่ากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร
การพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้กระทำ เป็นการลับ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ ทั้งมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อ ความปลอดภัยโดยการเปลี่ยนโทษจำคุกหรือกักกัน เป็นการส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมในสถานที่ที่กำหนดไว้ หรือสถานที่อื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและศาลเห็นสมควร ตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ หรือการเปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ
การที่เด็กกระทำความผิดอาจเกิดจากบิดามารดาปล่อยปะละเลยหรือบุคคลอื่นชักจูงหรือส่งเสริม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3) กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็ก (บุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) ประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด ผู้ฝ่าฝ่าฝืนต้องรับผิดทางอาญาจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น บิดามารดาหรือบุคคลอื่นใดอาจต้องรับโทษทางอาญาหากฝ่าฝืนกฎหมายโดยยินยอมให้ เด็กกระทำความผิด
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญของชาติใน อนาคต หากเด็กและเยาวชนได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ได้รับการส่งเสริมให้มีความประพฤติดี มีคุณธรรมและปลูกฝังให้มีจิตสำนึกที่ดี ย่อมเป็นผลดีแก่สังคมและประเทศชาติ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กและ เยาวชนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีและป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคต ของชาติกระทำความผิดซ้ำอีก
สรุปภาพรวมทำ บัตรประชาชนเด็ก ต่ำกว่าเป้า (ไอเอ็นเอ็น)

          ผอ.ทะเบียน กรมการปกครอง เผย สรุปภาพรวมทำบัตร ปชช. เด็ก 7 ขวบ ตอบรับน้อย เพราะเด็กเรียนหนังสือ

          นายจักรี ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เปิดเผยสรุปภาพรวมการทำบัตรประจำตัวประชาชนให้กับเด็กไทย ที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป หลังจากที่ได้เปิดระบบพร้อมกันอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ 
ทั้งนี้ นายจักรี ยอมรับว่า ได้รับการตอบรับค่อนข้างน้อย เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนหนังสือกันในวันธรรมดา อีกทั้งการประชาสัมพันธ์อาจยังน้อยเกินไป แต่เป้าหมายสำคัญ คือ ต้องการให้เด็กมาทำบัตรกันในวันหยุด ซึ่งจะได้รับความสะดวกกว่าในวันธรรมดา 

          อย่างไรก็ตาม นายจักรี กล่าวอีกว่า ในช่วงเที่ยงของวันนี้ ระบบอินเทอร์เน็ตเกิดล่ม ทำให้เกิดการชะงักชั่วคราว จึงต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้เร่งแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำบัตรดังกล่าวเท่าไรนัก ทั้งนี้ เกิดจากเครื่องมืออุปกรณ์หมดอายุการใช้งาน ซึ่งทาง อธิบดีกรมการปกครอง ก็ได้สั่งการให้ทำการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์บัตรที่ชำรุด เพื่อเดินหน้าในการทำบัตรดังกล่าวต่อไป


[11 กรกฏาคม] ยิ่งลักษณ์พาลูกไปทำบัตร-เด็กเซ็งระบบอินเทอร์เน็ตล่ม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ว่าที่นายกฯ หญิงพาบุตรชายไปทำบัตรประชาชน ขณะที่เด็ก ๆ แห่ทำบัตรในหลายพื้นที่ ตื่นเต้นจะได้มีบัตรครั้งแรก แต่กลับเจออุปสรรค เพราะระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วประเทศ
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเช้าวันนี้ (11 กรกฎาคม) ซึ่งเป็นวันแรกที่หลาย ๆ พื้นที่เปิดให้ทำบัตรประชาชนเด็ก หลังจากมีการเปิดให้ทำบัตรประชาชนนำร่องไปแล้วบางพื้นที่เมื่อวานนี้ พบว่ามีเด็ก ๆ มาเข้าคิวทำบัตรประชาชนเป็นจำนวนมาก
          โดยบรรยากาศที่โรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่ทางกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการนำร่องทำบัตรประจำตัวประชาชนให้กับเด็กไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น.ที่ผ่านมา นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง ได้เดินทางมาเป็นประธานในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเด็กด้วยตัวเอง
          ขณะที่ นางปภาดา อัศวธีรากุล ผู้อำนวยการโรงเรียนราชบพิธ กล่าวว่า ได้นำเด็กนักเรียนชั้น ป.1 - ป.3 จำนวน 300 คน มาต่อแถวทำบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งจากการสอบถามเด็ก ๆ ส่วนใหญ่รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกในชีวิต
          เช่นเดียวกับที่สำนักงานเขตวังทองหลางที่มีผู้ปกครองพาบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงที่พา ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ น้องไปป์ ลูกชายซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2545 ปัจจุบันอายุ 9 ปี ไปทำบัตรประชาชนใบแรกเช่นกัน ซึ่งระหว่างที่นางสาวยิ่งลักษณ์รอน้องไปป์ทำบัตร ก็ได้มีประชาชนเข้ามาขอถ่ายรูป และพูดคุยกับนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างเป็นกันเอง
          ข้ามมาที่จังหวัดลำปาง บรรยากาศในที่ว่าการอำเภอเมืองลำปางก็เป็นไปอย่างคึกคัก เพราะมีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ เดินทางมารอทำบัตรประชาชนเป็นจำนวนมาก โดย นายมงคล สุกใส นายอำเภอเมืองลำปาง กล่าวว่า ทางอำเภอเมืองลำปางได้ประสานไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตตัวเมือง เพื่อให้คัดเด็กที่มีอายุ ระหว่าง 7-15 ปี เข้ามาทำบัตรประชาชน เพื่อให้ง่ายต่อการทำบัตร โดยเด็กส่วนใหญ่บอกว่า รู้สึกตื่นเต้น ที่จะมีบัตรประชาชนเป็นครั้งแรกในชีวิต
          นายอำเภอเมืองลำปาง ยังกล่าวอีกว่า คาดว่า ตั้งแต่เช้าวันนี้ไปจนตลอดทั้งวัน น่าจะมีเด็กเข้ามาทำบัตรประชาชนอย่างต่อเนื่องกว่า 150 คน โดยทางอำเภอเมืองลำปางสามารถทำบัตรประชาชนได้ 200 รายต่อวัน ในส่วนของอำเภอเมืองลำปาง มีประชาชนรวมทั้งสิ้น 230,000 คน และมีเด็กอายุครบ 7 ขวบ - 15 ปี ที่มีสิทธิ์พร้อมทำบัตรประชาชน จำนวนกว่า 12,000 คน
          ส่วนที่สำนักงานเทศบาลนครตรัง มีผู้ปกครองนำบุตรหลานอายุ ตั้งแต่ 7-14 ปี มาขอทำบัตรประชาชนจำนวนมาก ขณะที่เด็กแต่ละคนมีสีหน้าตื่นเต้น ดีใจที่จะมีบัตรประจำประชาชนเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ใช้เวลาในการทำบัตรคนละไม่เกิน 10 นาที
          โดย ด.ช.ภัทรพล บุญประเสริฐ อายุ 13 ปี นักเรียนโรงเรียนพรศิริกุล ซึ่งเดินทางมาทำบัตรประชาชน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่มีบัตรประชาชนแล้ว ซึ่งจะเก็บรักษาบัตรไว้ที่ตัวเอง ขณะที่ ด.ญ.ภัณทิรา เดชวิจิตร อายุ 8 ปี นักเรียนโรงเรียนอนุบาลตรัง ซึ่งเดินทางมาทำบัตรประชาชนกับปู่ กล่าวหลังได้รับบัตรประชาชนว่า รู้สึกดีใจที่จะมีบัตรเป็นของตัวเอง
          ด้านนายจักรี ชื่นอุระ รักษาการผู้อำนวยการสำนักทะเบียน กรมการปกครอง เปิดเผยถึงกรณีที่กฎหมายกำหนดให้กลุ่มบุคคล ช่วงอายุ 7-14 ปี ทำบัตรประชาชนครั้งแรก โดยระบุว่า เบื้องต้นคนกลุ่มนี้ทั่วประเทศมีประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีผลเริ่มดำเนินการจัดทำบัตรประชาชนได้ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมาแล้ว และกรมการปกครอง มีความพร้อมในการให้บริการและจัดทำบัตรประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งการเปิดให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนได้ในวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.
          ส่วนวันเปิดเรียนตามปกตินั้น บางพื้นที่จะจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ หรือรถโมบายไปตามสถานศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ด้วย โดยผู้ปกครองเพียงแค่เตรียมเอกสารสำคัญ คือ สูติบัตร หรือ ใบแจ้งเกิด มาเป็นหลักฐานในการยื่นขอทำบัตรประชาชนเท่านั้น และสำหรับการจัดทำบัตรประชาชนเด็ก อายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไปนั้น จะเปิดให้บริการทำฟรี เป็นเวลา 1 ปี และบัตรจะมีอายุนานถึง 8 ปี
          อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เกิดล่มทั่วประเทศ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองที่พาบุตรหลานมารอทำบัตรประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ต้องเซ็งกันไปตาม ๆ กัน เพราะระบบคอมพิวเตอร์แปรปรวนทั้งหมด แม้แต่ในกรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถใช้การได้ ซึ่งคาดว่า เหตุการณ์นี้เป็นผลพวงจากการที่มีประชาชนเข้ามาทำธุรกรรมในแต่ละวันมากเกินไป ไม่เพียงแต่การทำบัตรประชาชนเด็ก ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็มีการใช้โทรศัพท์สอบถามกันเป็นระยะ ๆ ยิ่งส่งผลให้ระบบสายแลนเกิดปัญหาตามมา
          ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทางเจ้าหน้าที่และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการประชุมเพื่อรับทราบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่
[10 กรกฎาคม] เริ่มแล้วทำบัตรประชาชนเด็ก! ร.ร.วัดสุวรรณบำรุงฯ นำร่อง
          โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงฯ จ.ปทุมธานี นำนักเรียน อายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป จำนวน 74 คน นำร่องทำบัตรประชาชนเด็กแล้ว ขณะเด็ก ๆ ต่างดีใจ บอกรู้สึกจะได้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และจะนำพกติดตัวตลอดเวลา ขณะที่่กทม. พร้อมทำบัตรประชาชนเด็ก 7 ขวบ เริ่มทำอย่างเป็นทางการ 11 ก.ค. นี้ ส่วนเชียงใหม่ พร้อมวันที่่ 16 ก.ค.นี้
          วันนี้ (10 กรกฏาคม) ที่โรงเรียนวัดสุวรรณ ม.11 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้เป็นโรงเรียนนำร่องทำบัตรประชาชนนักเรียน ของโรงเรียนนี้เป็นแห่งแรก ของจังหวัดปทุมธานี และเป็นหนึ่งในสองโรงเรียนที่ทางกรมการปกครองได้ทดลองทำให้จริงกับเด็กนักเรียน
          นายจักรี ชื่ออุระ ผู้อำนวยการสำนักบริการทะเบียน และ นายบรรจง กนะกาศัย ผู้อำนวยการส่วนบัตรประชาชน ได้นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องทำบัตรประชาชน มาทดลองเครื่อง ซึ่งจะพบปัญหาการตั้งค่าของเครื่องที่มีบางสิ่งบางอย่าง ไม่ยอมรับข้อมูลที่ป้อนให้เครื่อง จึงต้องทำการแก้ไขกันอย่างเร่งด่วน หลังจากที่แก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้นำนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 27 คนและชั้นมัธยมศึกษา ม.1 และ ม.2 จำนวน 47 คน มาทำบัตรในวันนี้ ประมาณ 100 คน ส่วนในวันพรุ่งนี้ ก็จะเริ่มทำจริง โดยให้นักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป ได้ทำบัตรให้ก่อน ส่วนเด็ก ๆ ต่างดีใจว่าเมื่อทำบัตรประชาชนแล้ว จะได้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และจะนำพกติดตัวตลอดเวลา
           ส่วนในกรุงเทพมหานครนั้น นายยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน (สปท.) สำนักปลัด กทม. เผยว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะเริ่มเปิดให้บริการทำบัตรประชาชน สำหรับเด็ก ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฏาคม นี้ เป็นต้นไป ที่ทุกสำนักงานเขต ซึ่งตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป ประมาณ 600,000 คน แต่การทำบัตรประชาชน แม้ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตกรุงเทพฯ ก็สามารถทำบัตรได้ที่สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขตได้เช่นกัน
           โดยขณะนี้ทางกรุงเทพฯ ได้เพิ่มเวลาให้บริการทำบัตรประชาชน ในวันทำการปกติตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 18.00 น. และให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00 น.- 16.00 น. ไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ ซึ่งผู้ปกครองที่ไม่สะดวก ในเวลาทำงานก็สามารถมารับบริการในช่วงเวลาอื่นได้ สำหรับข้อกังวลเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ด จะเพียงพอหรือไม่นั้น ไม่เป็นปัญหา เพราะทางกระทรวงมหาดไทย จะจัดสรรมาให้เพียงพอ โดยในวันที่ 11 กรกฏาคม นี้ กรุงเทพฯ จะจัดรถโมบายเคลื่อนที่ ไปให้บริการทำบัตรประชาชนที่โรงเรียนวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน และมีแผนจะหมุนเวียนไปให้บริการในโรงเรียนต่างๆ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กและผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง
           อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการทำบัตรประชาชนเด็ก ที่สำนักงานเขตดินแดง ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่กำหนดให้เด็กไทย สัญชาติไทย ที่อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีผู้ปกครองพาบุตรหลานมาบางตา สาเหตุเนื่องจากทางกระทรวงมหาดไทย มีการประชาสัมพันธ์น้อย ทำให้ประชาชนไม่ทราบว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
           ทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ นายอดิสรณ์ กำเนิดศิริ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ จะเริ่มทำบัตรประชาชนให้กับเด็กวัย 7 ขวบ ในวันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคมนี้ 
           โดยในขณะนี้ทางศูนย์ทะเบียนภาค 5 กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์นำไปติดตั้งในแต่ละอำเภอและเทศบาลทุกแห่งในวันพรุ่งนี้ (11 กรกฎาคม) ซึ่งทางโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและรอบนอก จะได้รับแจ้งให้เข้าทำบัตรประจำตัวประชาชนแก่เด็ก ๆ วันแรกคือวันที่ 16 กรกฎาคม แต่คงจะเป็นการค่อย ๆ ทยอยทำ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด โดยอยู่ระหว่างการสำรวจรายละเอียดของเด็ก ๆ

[9 กรกฎาคม] ดีเดย์ 10 ก.ค. ทำบัตรประชาชนเด็ก จัดรถบริการถึงโรงเรียน


           อธิบดีกรมการปกครอง เตรียมจัดรถบริการทำบัตรประชาชนเด็ก 10 ก.ค.นี้ แนะผู้ปกครองเตรียมเอกสารให้พร้อม บอกไม่ต้องรีบ ไม่ใช่เรื่องด่วน 
 
           เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ ได้มีการเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวก สำหรับการทำบัตรประชาชนเด็กแล้ว โดยตนจะเป็นประธานจัดทำบัตรประชาชนให้เด็กที่โรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร ในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ เบื้องต้นจะมีการจัดรถบริการเคลื่อนที่ไปทำบัตรประชาชนเด็กที่โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี, โรงเรียนวัดกู้ ( นันทาภิวัฒน์ ) อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และโรงเรียนสันติวิทยา อ.เมือง จ.เชียงราย

           อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวต่อว่า หากโรงเรียนไหนต้องการให้จัดรถบริการทำบัตรประชาชนเด็ก สามารถติดต่อไปยังสำนักงานทะเบียนในเขตพื้นที่ที่สังกัด โดยทางกระทรวงมหาดไทย จะมีรถบริการทั้ง 77 จังหวัด แต่ในบางพื้นที่ที่รถอาจเข้าไปไม่ถึง ทางสำนักงานทะเบียนจะนัดแนะวันที่เข้าไปทำบัตรที่โรงเรียนเอง ซึ่งอาจเป็นวันหยุดราชการเพื่อไม่กระทบการเรียน หรือสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน 1548  

           ทั้งนี้ ยอมรับว่า มีความกังวลเรื่องปัญหาความวุ่นวายและอุปสรรคอยู่บ้าง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ จึงได้ประสานไปที่ทำการเขตให้ทำการประชาสัมพันธ์ไปถึงประชาชนแล้วว่า ไม่ต้องรีบทำบัตรประชาชนเด็ก เพราะไม่ใช่เรื่องรีบด่วน และแม้จะทำในระยะเวลาเกิน 60 วัน ก็จะมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาให้ไม่ต้องเสียค่าปรับ 100 บาท และยืนยันว่าเด็ก ๆ จะไม่เสียสิทธิ์การทำบัตรประชาชนแน่นอน
          มาดูที่ความเห็นของเด็ก ๆ กันบ้าง อย่างเช่น น้องโปลิส ด.ช.เอกสิทธิ์ สงศรีอินทร์ อายุ 7 ปี นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา บอกว่า ตอนนี้มีแต่บัตรนักเรียน ก็อยากมีบัตรประชาชนบ้างจะได้เหมือนผู้ใหญ่ ถ้ามีจริง ๆ ก็ต้องฝากแม่ไว้ เพราะกลัวจะทำบัตรหาย เคยทำกระเป๋าตังค์หายแล้ว แต่ถ้าจำเป็นต้องเอาบัตรประชาชนติดตัวไปด้วยก็ต้องเก็บไว้ให้ดี ๆ 
          ขณะที่คุณแม่น้องโปลิส พรทิพย์ สงศรีอินทร์ แสดงความเห็นต่อการทำบัตรประจำตัวประชาชนของเด็กที่อายุครบ 7 ปีขึ้นไปว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองถ้าลูกหลานมีบัตรประชาชน สะดวกเวลาแสดงสิทธิรับบริการต่าง ๆ ของเด็ก ไม่ต้องถือสูติบัตรมาให้ยุ่งยาก เวลาพาน้องขึ้นเครื่องบินก็ใช้บัตรนี้แสดงตัว หรือกรณีเด็กพลัดหลง ถ้ามีบัตรติดตัวอยู่จะช่วยให้ส่งคืนพ่อแม่ได้เร็วขึ้น เพราะมีชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ก็ตั้งใจจะพาน้องโปลิสลูกชายไปทำบัตรในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคมนี้ ที่โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพราะทราบว่าจะมีหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่มาให้บริการทำบัตร    
          ด้านน้องบิ๊ว ด.ญ.นันทิกานต์ บุญนาด อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา บอกว่า ดีใจที่จะได้ทำบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก แล้วจะมีรูปตัวเองอยู่บนบัตรด้วย คิดว่าบัตรนี้เด็กจะใช้ประโยชน์ได้ เป็นบัตรแสดงเวลาไปติดต่อราชการ แต่ถ้ามีบัตรแล้วคงฝากผู้ปกครองดูแล ส่วนใหญ่เด็กจะมีแต่บัตรนักเรียนที่โรงเรียนออกให้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชนเด็ก
           1.ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดอายุของบุคคลสัญชาติไทยที่จะต้องมีบัตร คือ ให้ผู้มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน (กรณีผู้มีอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นขอมีบัตรภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 หรือหากมีความจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะขอขยายเวลาออกไปได้)
           2.บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ จะต้องเป็นผู้ยื่นคำขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรให้ผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ตัดสิทธิบุคคลที่จะยื่นคำขอด้วยตนเอง
           3.ในการกำหนดโทษ หากไม่ยื่นขอบัตรภายใน 60 วัน กรณีขอมีบัตรครั้งแรก ต่ออายุบัตร บัตรหาย ชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล จะมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
           4.บัตรดังกล่าวมีอายุ 8 ปี สามารถใช้ประโยชน์ในการแสดงสิทธิได้หลายประการ เช่น แสดงสิทธิ์การขอรับแท็บเลตกับทางรัฐบาล ที่บอกว่าจะแจกฟรีให้เด็ก รวมถึงการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์จากเด็กต่างด้าว
           5.กรณีผู้ถือบัตรไม่มีบัตรแสดงเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ผู้ถือบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท รวมทั้งกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
           6. กรณีทำบัตรใหม่ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากทำบัตรหาย ชำรุด แก้ไขชื่อตัว-ชื่อสกุล เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท, ออกใบแทน 10 บาท และขอตรวจคัดสำเนา 10 บาท
สามารถทำบัตรประชาชนเด็กได้ที่ไหน
          กรมการปกครองได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่ต้องมีบัตรตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ ด้วยการให้บริการเชิงรุก โดยสำนักบริหารการทะเบียน ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค 9 แห่ง และศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด 77 ศูนย์ จัดหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ออกไปให้บริการจัดทำบัตรให้กับนักเรียน นักศึกษา ตามสถานศึกษาต่าง ๆ เดือนละ 3 ครั้ง เริ่มดำเนินการทั่วประเทศ รวมทั้งยังได้จัดวันและเวลาที่เหมาะสมในช่วงวันเสาร์ เชิญโรงเรียนเข้ามาทำบัตรประชาชนที่เขตหรืออำเภอด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2554 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 ก.ค.2555
          สำหรับในวันที่ 10-11 กรกฎาคม จะเริ่มประเดิมการทำบัตรประชาชนให้แก่เด็ก ๆ ในสถานศึกษา 4 แห่ง คือ
           1.โรงเรียนราชบพิธ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
           2.โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
           3.โรงเรียนวัดกู้ (นันทาภิวัฒน์) ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
           4.โรงเรียนสันติวิทยา อ.เมืองฯ จ.เชียงราย


[6 กรกฏาคม] เชิญชวน 7 ขวบ ทำบัตรประชาชน ตั้งแต่ 11 ก.ค.

        เชิญชวนผู้ปกครองยื่นเรื่องทำบัตรประชาชนให้เด็ก 7 ขวบ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฏาคมนี้ เป็นต้นไป หากพ้นกำหนดเวลา 1 ปี ถูกปรับ 100 บาท
        หลังจากที่ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 128 ตอนที่ 34 ก วันที่ 11 พ.ค. 2554 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน คือตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 2554 เป็นต้นไป เป็นผลให้เด็กไทยอายุ ตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่ามีเด็กกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศประมาณ 8 ล้านกว่าคน 
        สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนกรณีเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี สามารถยื่นคำขอมีบัตรด้วยตนเอง หรือให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล เป็นผู้ยื่นคำขอแทนก็ได้ ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หรือภายใน 10 กรกฎาคม 2555 ซึ่งหากไม่ยื่นขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

[17 พฤษภาคม] บังคับ9กรกฎาคม 7ขวบทำบัตรปชช. (ไทยโพสต์)

        ประกาศ 9 กรกฎาคมนี้ พ่อแม่ต้องพาเด็กอายุ 7 ปีไปทำบัตรประชาชน นักวิชาการชี้ด้านลบพ่อแม่เด็กลำบาก เสียเงิน-เวลาพาลูกไปทำบัตร เปิดช่องทุจริตโกงกิน คนต่างด้าวแฝงตัวทำบัตร ครูหยุยเสนอให้เด็กทำใบเหลืองแทนสมาร์ทการ์ด วอนประชาชนช่วยตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 สาระสำคัญของกฎหมายคือ กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
        ด้าน นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือครูหยุย มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า ที่ผ่านมาเคยให้เหตุผลคัดค้านมาตลอดว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะบังคับให้เด็กอายุ 7 ปี ทำบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครองอ้างจุดประสงค์เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสารสวมสิทธิ์สัญชาติไทยของบุคคลต่างด้าวนั้น ตนคิดว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ สิ่งที่น่ากังวลคือ จะเปิดช่องให้มีการทุจริตโกงกินค่าทำบัตรสมาร์ทการ์ดของเด็กอายุระหว่าง 7-14 ปีที่มีอยู่ประมาณ 8 ล้านคน
        อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องพาลูกไปทำบัตรประชาชนช่วยกันตรวจสอบการทำงานภาครัฐให้ดี เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและจะมีการฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากกลุ่มเด็กต่างด้าวที่แฝงตัวทำบัตรประชาชนกันอย่างมาก ส่วนเหตุผลที่บังคับเด็ก 7 ปีทำบัตรประชาชนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐนั้น ก็ไม่จำเป็นด้วย เพราะทุกวันนี้เด็กที่ใช้บริการต่างๆ จากรัฐ เช่น การรักษาพยาบาล การเข้าสถานศึกษา ก็สามารถใช้หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรมาแสดงได้อยู่แล้ว
        "ผมคิดว่าเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็อยากเสนอว่าแทนที่จะทำบัตรสมาร์ทการ์ด ก็ให้เปลี่ยนมาทำใบเหลืองที่ใช้กันอยู่แล้ว เพื่อป้องกันข้อครหาว่าจะมีการทุจริตกันอย่างมโหฬาร นอกจากนี้ยังควรแก้ไขโทษปรับ 200 บาทสำหรับผู้ไม่ทำตามกฎหมาย ผมเห็นว่าปรับสูงเกินไป เพราะพ่อแม่เด็กที่ยากจนและไม่มีเวลาพาลูกไปทำบัตรประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้แก้ไขโทษปรับลดลงมาเหลือ 5-10 บาทก็พอ" นายวัลลภกล่าว
        ขณะที่ นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า กฎหมายมีผลบังคับให้เด็กอายุ 7 ปี ทำบัตรประชาชนตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ ส่งผลกระทบต่อพ่อแม่เด็กได้รับความลำบาก ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวอำเภอก็ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำบัตรประชาชน อีกทั้งหน่วยงานรัฐก็ต้องระดมเจ้าหน้าที่มาถ่ายรูปทำบัตรประชาชน แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการสวมสิทธิ์สัญชาติไทยได้ เพราะรูปร่างใบหน้าเด็กอายุ 7-14 ปี จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจจะต้องกำหนดช่วงเวลาทำบัตรหลายครั้ง
        "ทุกวันนี้เด็กใช้สูติบัตรและทะเบียนบ้านในการขอรับบริการจากรัฐ ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทการ์ด แต่ควรจะจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้รัดกุมมากขึ้น เช่น ถ่ายภาพม่านตาแล้วบันทึกข้อมูลลงในใบเกิด ซึ่งจะช่วยป้องกันการปลอมเอกสารสวมสิทธิ์ของเด็กต่างด้าวได้ อย่างไรก็ตาม การให้เด็กอายุ 7 ปี ไปทำบัตรประชาชนไม่ได้กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กกำพร้าหรือเด็กไร้รากเหง้า เพราะไม่มีหลักฐานเอกสารการเกิดอยู่แล้ว เด็กกลุ่มนี้จะต้องเข้ากระบวนการพิสูจน์สัญชาติไทยให้ได้ก่อนทำบัตรประชาชน" นายสรรพสิทธิ์เผย
        ด้าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร นักวิชาการเรื่องสัญชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงประชากร ทำให้ฐานข้อมูลในทะเบียนราษฎรแน่นมากขึ้น ส่วนการป้องกันคนต่างด้าวสวมสิทธิ์สัญชาติไทยนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว สำหรับข้อเสียคือ เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตในหน่วยงานราชการทุกระดับอย่างมาก
        "สำหรับเด็กไร้รากเหง้าที่ไม่มีใบเกิดนั้น มีกฎหมายให้เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และใช้ระยะเวลานานหลายปีในการให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่มีผลกระทบต่อเด็กกลุ่มนี้" รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์กล่าว


[16 พฤษภาคม] นักวิชาการ ค้าน เด็ก 7 ขวบ ทำบัตรประชาชน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          นักวิชาการต้านให้เด็ก 7 ขวบมีบัตรประชาชน หวั่นเกิดผลกระทบกับเด็กหลาย ๆ ส่วน ขณะที่อธิบดีกรมปกครองขอให้ผู้ถือบัตรประชาชนที่หมดอายุแล้วใช้ไปก่อน เหตุบัตรสมาร์ทการ์ดที่มีอยู่อาจไม่พอ ชี้ต้องเร่งติดตั้งระบบใหม่ ก่อนระบบล่ม
          หลังจากที่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้มีการออกกฏหมายให้ผู้มีสัญชาติไทยตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อยืนยันตัวบุคคล ภายใน 60 วัน ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาจากหลายฝ่าย
          โดยนายมนตรี สินทวีชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก กล่าวถึงกฏหมายฉบับนี้ว่า ถือเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบ เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบกับเด็กหลาย ๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มเด็กพิการ เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน ที่ตามหลักแล้วรัฐจะต้องคอยดูแลสงเคราะห์เด็กกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ หากเด็ก ๆ จะทำบัตรประชาชนต้องมีผู้ปกครองพาไปทำบัตรด้วย แต่ทว่าเด็กบางคนไม่มีผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองมีอาชีพไม่สุจริต ผู้ปกครองอยู่ในเรือนจำ จึงเกรงว่าเด็กกลุ่มนี้อาจไม่มีโอกาสทำบัตรประชาชน ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมเด็กหรือไม่
          ครูยุ่น ยังกล่าวต่ออีกว่า ตามปกติแล้วการจะยืนยันว่าเป็นคนไทย สามารถตรวจสอบได้จากสูติบัตรอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เด็ก ๆ ถือบัตรประชาชน โดยตามกฏหมายในอดีตได้ผ่านกระบวนการคิดที่ดีอยู่แล้วว่า ให้เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไปค่อยมีบัตรประจำตัวประชาชน เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดเป็นผู้ใหญ่แล้ว
          ขณะที่นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กกฎหมาย และกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เด็กในวัย 7 ขวบกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ดังนั้นทุก ๆ ปี รูปร่างหน้าตาของเด็กจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ซึ่งหากจะมีการทำบัตรจริง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนบัตรทุก ๆ ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใช้สูติบัตรก็สามารถยืนยันตัวได้ โดยอาจเพิ่มรายละเอียดบางอย่างเข้าไป เช่น ดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า เป็นต้น
          เช่นเดียวกับนางประทีป อึ้งทรงธรรม ประธานมูลนิธิดวงประทีป ที่กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับกฏหมายฉบับนี้ เพราะไม่เห็นว่ามีความเหมาะสมอะไรที่จะให้เด็ก 7 ขวบทำบัตรประชาชน เพราะในเรื่องธุรกรรมต่าง ๆ ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ดูแลให้อยู่แล้ว ซึ่งหากให้เด็กถือบัตรก็อาจทำหายได้ และที่ระบุว่า การให้เด็กทำบัตรประชาชนเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์บุคคลต่างด้าว ตรงนี้ตนมองว่าไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา เพราะหากจะแก้ไขปัญหานี้จริง ๆ ต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ป้องกันแก้ไขปัญหามากกว่า
          ขณะเดียวกัน หลังจากกฏหมายดังกล่าวถูกประกาศใช้ ก็ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ดที่มีไม่เพียงพอจะรองรับอีก โดยนายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า ปัจจุบันเพิ่งได้รับบัตรสมาร์ทการ์ดล็อตใหม่มา 26 ล้านใบ ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะออกบัตรให้กับทุกคนได้ เพราะที่ผ่านมาบัตรสมาร์ทการ์ดก็ขาดแคลนอยู่แล้ว และหากไม่เพียงพอจริงก็คงต้องจัดซื้อใหม่
          นายมงคล กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ทางกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ถือบัตรสมาร์ทการ์ดซึ่งหมดอายุแล้วยังไม่ต้องมาทำบัตรใหม่ สามารถใช้บัตรที่หมดอายุทดแทนไปก่อนได้ เพื่อรอให้ผู้ที่ยังถือบัตรเหลืองแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้รับบัตรล็อตใหม่เสียก่อน ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีถึง 14 ปี อีกกว่า 8 ล้านคนที่จะกำลังจะมาทำบัตรก็ขอให้ทยอยกันมาทำบัตร เพราะบัตรอาจมีไม่เพียงพอ อีกทั้งเครื่องพิมพ์บัตรจำนวน 151 เครื่องยังเสียด้วย ดังนั้นจึงต้องเร่งติดตั้งระบบใหม่ เพื่อไม่ให้ระบบล่มทั้งประเทศ จะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

[15 พฤษภาคม] อีก 2 เดือน เด็ก 7 ขวบ เตรียมทำบัตรประชาชน
          หลังจากเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554  ที่ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 โดยกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 9 กรกฎาคม 2554)
          โดยสาระสำคัญของกฎหมายคือ การกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตร และมีอายุ 8 ปี นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร ที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตร มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต
  
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียม
          (1) การออกบัตร ฉบับละ 100  บาท
          (2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
          (3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ฉบับละ 10 บาท
    
          อย่างไรก็ตาม เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตน เพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน
          ทางด้าน นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวถึงเรื่องนี้ โดยระบุว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยกันมานาน ซึ่งกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคล ทำให้มีการบันทึก และการสวมตัวบุคคลโดยคนต่างด้าวทำได้ยากขึ้น เป็นการรักษาสิทธิคนไทย อีกทั้งเจตนาของกฎหมายไม่ต้องการสร้างภาระให้ประชาชน และในประเทศที่ก้าวหน้าจะเริ่มทำบัตรประชาชนตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งอายุ 7 ขวบ ก็เป็นช่วงอายุที่เหมาะสม

           ที่มา http://hilight.kapook.com/view/58807
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ

• การแจ้งความต่าง ๆ
• การขออนุญาตต่าง ๆ
• การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
การแจ้งความต่าง ๆ
เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่
โรงพักท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ
๑. บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือ
๒. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
๓. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
๔. หนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
๕. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่น ให้นำหลักฐานต่างๆ ดังนี้
ติดตัวไปด้วย
๕.๑ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
๕.๒ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
๕.๓ ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำ
หลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน หรือสามีหรือภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนสมรส) สูติบัตร,
ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
๕.๔ ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีหรือภรรยา แล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็น
ตัวแทนโดยสมบูรณ์
๕.๕ ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ
๕.๕.๑ หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ ๕ บาท
๕.๕.๒ หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์
นอกจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากเป็นกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ ท่านต้องนำหลักฐานเพิ่มเติม
ไปอีกคือ
แจ้งความคนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
๑. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
๒. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
๓. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
๔. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)
แจ้งรถหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือพาหนะอื่นๆ ที่หาย
๒. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
๓. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความ ควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของ
ห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
๔. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
๕. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จดยี่ห้อ
สี แบบ หมายเลข ประจำเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)
แจ้งอาวุธปืนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน
๒. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้
แจ้งทรัพย์สินหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น
๒. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
๓. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
๔. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี
แจ้งพรากผู้เยาว์ หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์
๒. ใบเกิดของผู้เยาว์ (สูติบัตร)
๓. รูปถ่ายของผู้เยาว์
๔. ใบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)
แจ้งถูกข่มขืนกระทำชำเรา หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบน้ำอสุจิ หรือรอยเปื้อนอย่างอื่น อันเกิดจากการข่มขืน และ
สิ่งของต่างๆ ของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ
๒. ใบสำเนาสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย
๓. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องหาตลอดจนหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
แจ้งถูกทำร้ายร่างกายและถูกฆ่าตาย หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ
ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ
๒. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิด
เหตุจนกว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ
๓. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้
แจ้งถูกปลอมแปลงเอกสาร หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ นส.๓ แบบ สค. ๑ หนังสือสัญญาใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
๒. หนังสือที่ปลอมแปลง
๓. ตัวอย่างตามที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นให้หนังสือ
แจ้งถูกฉ้อโกงทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หนังสือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง
๒. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์
๓. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์
แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ
๓. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่น ตามคำสั่งของ
ศาลหรือพินัยกรรม
แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเช่าซื้อ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา
๒. ใบสำคัญการติดต่อซื้อขาย เช่า ยืม ฝาก
๓. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนักและหมายเลขประจำตัว
แจ้งทำให้เสียทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น
๒. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้
๓. หากเป็นของใหญ่โตหรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้
อย่าให้เกิดการเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป
แจ้งจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. เช็คที่ยึดไว้
๒. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้อง หรือปฏิเสธการจ่ายเงิน
การขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำผิด เมื่อผู้เสียหายไปพบในท้องที่อื่น หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้า
หน้าที่ตำรวจคือ
๑. สำเนาการรับแจ้งความ สมุดประจำวันของสถานีตำรวจที่รับแจ้งความ ให้ปรากฏวัน เดือน ปี
ที่รับแจ้งความไว้ (ข้อประจำวัน)
๒. สำเนาหมายจับ (ถ้ามี)
๓. หนังสือรับรองของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แสดงว่าได้ออกหมายจับไว้แล้ว
วิธีปฏิบัติ ถ้าท่านมีความจำเป็นที่จะแจ้งความตามกรณีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ท่านไปพบพนักงาน
สอบสวน ณ โรงพักที่ใกล้ที่สุดแจ้งความประสงค์ และรายละเอียดให้ร้อยเวรทราบ พร้อมทั้งแสดงหลักฐาน
ต่างๆ ตามแต่กรณีที่ได้นำติดตัวมาแก่พนักงานสอบสวน
หมายเหตุ ในโอกาสที่ไปแจ้งความ หรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น นอกจากนำหลักฐานไป
แสดงแล้ว ถ้าหากท่านสามารถพาพยานบุคคลที่รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไปพบพนักงานสอบสวนด้วยก็
จะเป็นประโยชน์แก่ท่าน และพนักงานสอบสวนเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถดำเนินเรื่องของท่านให้แล้ว
เสร็จได้เร็วขึ้น
๑. หากไม่อาจเขียนคำร้องขอประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียน
คำร้องให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
๒. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกัน ซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
ไว้ด้วย
๓. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับคำ
ร้อง
หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่งทราบทันที
การขออนุญาตต่างๆ
๑. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว
เช่น งานบวชนาค โกนจุก เผาศพ ฯลฯ
๑.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๑.๒ ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่แสดงมหรสพ
๑.๓ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๑.๔ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๑.๕ สารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาอนุญาตได้
๒. ขออนุญาตจัดงานประจำปีของวัดซึ่งเป็นงานใหญ่
๒.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๒.๒ หนังสืออนุมัติให้จัดงานวัดจากเจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเขต หรือเจ้าคณะภาค แล้วแต่กรณีตาม
ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการจัดงานวัด
๒.๓ หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าอาวาส ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจไปขออนุญาตด้วยตนเองได้
๒.๔ แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่จัดงาน
๒.๕ ขออนุญาตให้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๒.๖ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๒.๗ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๓. ขออนุญาตจัดงานทั่วไปที่เป็นงานใหญ่
๓.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพหรือสถานที่จัดงาน
๓.๒ แสดงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
๓.๓ มหรสพที่จัดให้มีการแสดง หรืองานที่จะจัดขึ้น
๓.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๓.๕ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๓.๖ แผนที่สังเขปบริเวณที่จัดงาน และแสดงมหรสพ
๓.๗ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๓.๘ เสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๓.๙ หากเลิกการแสดงเกินเวลา ๒๔.๐๐ น. ต้องเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกระทรวง
มหาดไทย
๔. ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
๔.๑ ผู้ขอไปขอคำร้องขอใช้เครื่องขยายเสียงจากเขต
๔.๒ นำคำร้องมายื่นต่อสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่เพื่อพิจารณามีความเห็นก่อน
๔.๓ นำคำร้องกลับคืนไปยังเขตที่ขอใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อพิจารณาอนุญาต
๕. ขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง
๕.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่ขอจุดดอกไม้เพลิง
๕.๒ แผนที่สังเขปบริเวณที่จุดดอกไม้เพลิง
๕.๓ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จุดดอกไม้เพลิง กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๕.๔ หลักฐานแสดงว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าประเภท ดอกไม้เพลิง
๕.๕ ห้ามจุดพลุและตะไล
๕.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต
๖. ขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว
๖.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมนำบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายของงิ้วที่จะ
แสดงไปด้วย
๖.๒ ส่งบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายงิ้วให้ผู้กำกับการ ๓ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ตรวจ
สอบก่อน
๖.๓ แผนที่สังเขปสถานที่แสดงงิ้ว
๖.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่แสดงงิ้ว กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๖.๕ การแสดงงิ้วห้ามให้เครื่องขยายเสียงโดยเด็ดขาด
๖.๖ เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต
๖.๗ ต้องไปชำระเงินค่าทำความสะอาดต่อเขตท้องที่
๗. ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
๗.๑ ไปยื่นคำร้องเรื่องราวที่แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๗.๒ แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะส่งเรื่องมายังกองบัญชาการตำรวจนคร
บาล เพื่อส่งผ่านให้สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่
๗.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ต้องสอบสวนคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๗.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานรับรองการประกอบอาชีพ รายได้หลักทรัพย์ และ
อื่นๆ
๗.๕ พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอส่งไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
๗.๖ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่บันทึกการตรวจสอบความประพฤติ หลักทรัพย์
๗.๗ รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๗.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาเสนอไปยังกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อ
พิจารณา
๘. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
๘.๑ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขอมีอาวุธปืน
๘.๒ ใบมรณบัตรของผู้ตาย
๘.๓ หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (หากมี)
๘.๔ สอบสวนปากคำทายาททุกคน
๙. การพนันประเภทไพ่จีน, ไพ่ไทย, ไพ่ซีเซ็ก, ไพ่นกกระจอก
๙.๑ ยื่นคำร้องขอต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ขออนุญาต
๙.๒ แบบแปลนแผนผังบ้านที่ขอเล่นการพนัน
๙.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน
๙.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่สอบสวนปากคำผู้ขออนุญาต
๙.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตได้
๑๐. การขอตั้งสมาคม
๑๐.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมวิธีการและสิ่งของรางวัลโดยละเอียด
๑๐.๒ หลักฐานการเป็นเจ้าของสินค้า, เครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย
๑๐.๓ วิธีการโฆษณาและการมอบของรางวัล
๑๐.๔ หลักฐานการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท
๑๐.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งวิธีการชิงโชคฯ ไปให้ผู้ชำนาญการพนันตรวจสอบก่อน
๑๐.๖ รวบรวมหลักฐานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา
๑๑. การขอตั้งสมาคม
๑๑.๑ ยื่นเรื่องราวคำร้องต่อตำรวจสันติบาล
๑๑.๒ ตำรวจสันติบาลส่งเรื่องไปยังผู้บัญชาการ เพื่อส่งสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่สมาคมตั้งอยู่
ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ตั้ง
๑๑.๓ เมื่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ดำเนินการเรียกร้อยแล้วเสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการ
ตำรวจนครบาล
๑๑.๔ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเสนอเรื่องคืนตำรวจสันติบาลพิจารณาดำเนินการต่อไป
๑๒. ขออนุญาตเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
๑๒.๑ ผู้ขอยื่นเรื่องราวคำร้องและแบบแปลนแผนผังการก่อสร้างต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พร้อม
สำเนาโฉนดที่ดิน
๑๒.๒ กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ต้องให้เจ้าของที่ดินยินยอมก่อน
๑๒.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งเรื่องให้ กรมโยธาธิการ, ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร, กองบังคับ
การตำรวจดับเพลิง, กองบังคับการตำรวจจราจร ตรวจสอบมีความเห็น
๑๒.๔ กรณีที่ก่อสร้างเป็นอาคาร ต้องขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากที่ว่าการกรุงเทพมหานคร อีก
ชั้นหนึ่ง
๑๒.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นถึงผู้บังคับการ
๑๒.๖ ผู้บังคับการ จะนัดประชุมคณะกรรมการและส่งเรื่องคืนสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ เพื่อทำ
หนังสือนัดกรรมการประชุม
๑๒.๗ เมื่อประชุมเรียบร้อยแล้วเสนอถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๑๒.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณามีความเห็นเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา
๑๒.๙ กรณีขอเก็บน้ำมันในถังใหญ่ (เช่น คลังน้ำมัน) ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติ
ก่อน
๑๓. ขออนุญาตชกมวยชั่วคราว
๑๓.๑ ต้องเป็นงานเทศกาล หรืองานนักขัตฤกษ์
๑๓.๒ ผู้ขออนุญาตยื่นเรื่องราวต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่
๑๓.๓ แบบแปลนแผนผันสถานที่ กรณีผู้ของไม่ใช่เจ้าของสถานที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
สถานที่ก่อน
๑๓.๔ คำร้อง พน.๑ (คำขออนุญาตเล่นการพนันชกมวย)
๑๓.๕ คำรับรองของกรรมการห้ามมวย, กรรมการจับเวลา และ
๑๓.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา
หมายเหตุ การดำเนินการขออนุญาตต่างๆ ควรยื่นยังสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ ก่อนที่จะถึงกำหนด
วันขออนุญาตอย่างน้อย ๑๕ วัน
การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
ตามนัยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๑๐ “ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไปผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และ
จะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็
ได้”
มาตรา ๑๑๔ “เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วยก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้อง
ขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ”
หลักประกันมี ๓ ชนิด คือ
(๑) มีเงินสดมาวาง
(๒) มีหลักทรัพย์อย่างอื่นมาวาง
(๓) มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
หลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน
๑. เงินสดเป็นธนบัตรของรัฐบาลไทย
๒. โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่า ที่ดินมีราคาสูง
ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๓. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส. ๓ ก. ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาหรือพนักงานสอบ
สวนเชื่อว่าที่ดิน มีราคาไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๔. พันธบัตรของรัฐบาลไทย
๕. สลากออกมสินและสมุดฝากเงินประเภทประจำ
๖. ใบรับฝากประจำของธนาคาร
๗. ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
๘. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
๙. เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
๑๐. หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
หลักฐานประกอบ
๑. กรณีที่ผู้ยื่นคำร้องขอประกันเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แล้วต้องให้สามีหรือภรรยา
ที่เป็นคู่สมรสมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ทำสัญญาประกันได้
๒. กรณีที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกัน ต้องให้เจ้าของ
ร่วมมีหนังสือยินยอม ให้นำหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นหลักประกันด้วย
๓. ทุกครั้งที่มาติดต่อกับทางราชากร ควรมีบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกมาให้ด้วย
วิธีขอยื่นขอประกัน
๑. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหาพบ และยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่
ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
๒. หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
๓. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
ไว้ด้วย
๔. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับคำร้อง
๕. หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่ง
ทราบทันที
การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๒๒/๒๕๓๖ เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลัก
ประกันในการปล่อยชั่วคราว ได้วางหลักเกณฑ์เป็นทางปฏิบัติ ดังนี้
๑. ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๓ ถึง ๕ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการหรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตรี - เรือตรี เรืออากาศตรีหรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพัน
ตำรวจตรี ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ถึง ๘ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจ
เอก ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๑ หรือ ๒ ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวง
เงินไม่เกินสองแสนบาท (๒๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ หรือ ๑๐ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า ข้าราชการทหาร หรือข้าราช
การตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอกที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก
(พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือพันตำรวจเอก (พิเศษ) ถึงพลตรี พลเรือตรี พลอากาศ
ตรี หรือพลตำรวจตรี ข้าราชการตุลาการ หรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๓ ถึง ๔ ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท (๕๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๑ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโทหรือพลตำรวจโท ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการตั้ง
แต่ชั้น ๕ ขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
ข้าราชการดังกล่าวในข้อ ๑ หมายถึงข้าราชการประจำเท่านั้น
๒. ให้ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ใน
วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
๓. ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในทำนองเดียวกับข้าราชการตามที่
ระบุไว้ในข้อ ๑
๔. ให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
๕. ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร กรรมการสุขาภิบาล กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
๖. ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ แสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิด
ชอบพิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้าในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับอัตราเงินเดือน หรือภาระผูก
พันอื่นใดอาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่
ได้รับอนุญาตให้ประกัน
๗. ในกรณีบุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก
ประกันยังไม่เป็นการเพียงพอให้ใช้บุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลอื่นหรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน
เพิ่มเติมได้

ที่มา http://www.moj.go.th/upload/main_law/uploadfiles/429_5177.pdf
ประชาชนธรรมดา
จะจับกุมผู้กระทำผิดได้หรือไม่


โดยปกติแล้วการจับกุมผู้กระทำผิดนั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งคำว่า เจ้าพนักงานที่ว่า
นี้มีความหมายกว้างขึ้นอยู่กับกฎหมาย ในแต่ละเรื่องนั้นจะบัญญัติให้ใครเป็นเจ้าพนักงาน เช่นเจ้าหน้าที่
ศุลกากรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายศุลกากร มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมความผิดเกี่ยวกับการขนสินค้าหนี
ภาษี เจ้าหน้าที่สรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต มีอำนาจหน้าที่จับกุมความผิดเกี่ยวกับ
สรรพสามิต ฯลฯ เป็นต้น ส่วนตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ นั้น จัดอยู่ในประเภทพนักงานฝ่ายปกครองมี
อำนาจหน้าที่จับกุมความผิดได้ทุกประเภท แม้ว่าความผิดนั้นๆ จะมีเจ้าพนักงานโดยเฉพาะอยู่แล้วก็ตาม เช่น
ความผิดตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต ตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ก็ยังมีอำนาจหน้าที่ในการ
จับกุมได้
สำหรับประชาชนหรือที่เรียกว่าราษฎรธรรมดานั้น โดยปกติไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจับกุมผู้ใด
ได้ เพราะประชาชนธรรมดาไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน
แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายไม่ได้ห้ามเด็ดขาดตายตัวว่ามิให้ประชาชนธรรมดาจับกุมผู้กระทำผิดโดยสิ้น
เชิงบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นไว้ให้ประชาชนธรรมดามีอำนาจที่จะจับกุมผู้กระทำผิดได้เฉพาะในบางกรณีดังต่อ
ไปนี้เท่านั้น
๑. เมื่อเจ้าพนักงานร้องขอให้ช่วยจับ
กรณีนี้จะต้องเป็นเรื่องที่มีหมายจับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานใดก็ตามและเจ้าพนักงานผู้มีหน้า
ที่จัดการตามกฎหมายหรือจับตามหมายจับนั้นได้ร้องขอให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับกุมผู้กระทำผิดที่หมายจับ
ระบุไว้ ข้อนี้ต้องพึงระวังให้ดีว่าถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานจะจับกุมโดยไม่มีหมายจับแม้เจ้าพนักงานจะร้องขอ
ให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับ ประชาชนธรรมดาก็ไม่มีอำนาจในการจับกุม
มีข้อสังเกตว่าคำร้องขอของเจ้าพนักงานเช่นนี้ไม่ถือเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานดังนั้น ประชาชนผู้ได้
รับคำร้องขอจะปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหรือไม่ก็ได้
๒. เมื่อพบการกระทำผิดซึ่งหน้าเฉพาะความผิดประเภทที่กฎหมายระบุไว้
กรณีนี้ประชาชนผู้พบการกระทำผิดนั้นสามารถเข้าทำการจับกุมได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยให้เจ้า
พนักงานร้องขออย่างไรก็ดีอำนาจในการจับกุมของประชาชนธรรมดาตามข้อ ๒ นี้ค่อนข้างจะมีขอบเขตจำกัด
อยู่เฉพาะแต่ความผิดประเภทที่ระบุไว้ในท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่านั้นและต้องเป็นกรณี
ที่พบการกระทำผิดซึ่งหน้าอีกด้วย ซึ่งเงื่อนไขข้อนี้นับว่าเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเรียนกฎหมาย
มาก่อนเพราะจะไม่ทราบความหมายแค่ไหน เพราะถ้อยคำนี้เป็นคำทางกฎหมาย ซึ่งมีความหมายเฉพาะไม่จำ
เป็นต้องนำมาเขียนในที่นี้ แต่จะขอนำเอาความผิดซึ่งหน้าที่ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาเฉพาะที่พบอยู่เสมอเพื่อเป็นแนวทางในการจดจำ
􀁓 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
􀁓 ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
􀁓 ความผิดต่อศาสนา
􀁓 ความผิดปลอมแปลงเงินตรา
􀁓 การก่อการจลาจล
􀁓 ข่มขืนกระทำชำเรา
􀁓 ทำร้ายร่างกาย
􀁓 ฆ่าคนตาย
􀁓 หน่วงเหนี่ยวกักขัง
􀁓 ลักทรัพย์
􀁓 วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ กรรโชกทรัพย์
๓. เมื่อประชาชนผู้เป็นนายประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้หลบหนี้ประกัน หรือจะหลบหนี
ประกัน
โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานให้จับกุมได้ทันท่วงทีเท่านั้น
การจับกุมประชาชนธรรมดา ตามที่กล่าวมาทั้ง ๓ กรณีนี้เป็นเพียงอำนาจตามกฎหมาย ที่จะจับกุม
ได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ และถ้าเป็นกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ประชาชนธรรมดาก็
ไม่มีอำนาจทำการ จับกุมผู้กระทำผิดได้เลย
ผลทางกฎหมาย
กรณีที่ประชาชนธรรมดามีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้ดังกล่าวมาในข้อ ๑-๓
นี้ ประชาชนผู้ทำการจับกุมย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่น ไม่มีความผิดฐานทำให้ผู้ถูกจับเสื่อมเสีย
อิสรภาพเสรีภาพหรือหากผู้จะถูกจับนั้นต่อสู้ขัดขวางประชาชนผู้จับก็มีอำนาจใช้กำลังป้องกันตนได้พอสมควร
แก่เหตุ
ในทำนองกลับกัน ถ้าเป็นกรณีไม่มีอำนาจจับกุมได้ตามกฎหมาย ผู้จับก็ต้องมีความผิดฐาน ทำให้
เสื่อมเสียเสรีภาพ และอาจมีความผิดฐานอื่นติดตามมากมาย เช่น บุกรุก ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ เป็นต้น

ที่ทา http://www.moj.go.th/upload/main_law/uploadfiles/429_3515.pdf

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

กฏใจนักกฎหมาย







        กฎปกครองเหนือบทคือกฎหมาย กฎมากมายป้องกันแหล่งปัญหา

แต่กฎหนึ่งไม่มีไร้ที่ตรา                   คือเมตตาคุณธรรมกฎน้ำใจ

กฎหมายตราหน้าที่เสรีภาพ              ให้เทียมทาบให้สิทธิอันยิ่งใหญ่

     ยุติธรรมค้ำจุนหนุนคนไทย               หากกฎได้ช่วยเหลือเพื่อปวงชน

การตอบข้อสอบกฎหมาย

การตอบข้อสอบกฎหมาย
----------

ข้อสอบแบบบรรยาย แยกได้ ๓ รูปแบบ คือ
             &n bsp;            &nbs p;     ๑. ข้อสอบบรรยาย โดยให้เพียงอธิบายเท่านั้น
             &n bsp;     ๒. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการเปรียบเทียบ
             &n bsp;               - ให้อธิบายก่อนว่าสิ่งที่ต้องเปรียบเทียบนั้นแต่ละสิ่งมีลักษณะอย่างไร
             &n bsp;               - ให้เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของสิ่งที่คำถามให้เปรียบเทียบ
             &n bsp;     ๓. ข้อสอบบรรยาย โดยให้มีการวิเคราะห์
             &n bsp;               -  ต้องอธิบายเรื่องที่โจทย์ถามมาก่อน
             &n bsp;               -  ให้วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม

          การตอบข้อสอบแบบบรรยาย ประกอบด้วย ๓ ส่วน ดังนี้
             &n bsp;            &nbs p;     ๑. ส่วนเกริ่นนำ หรือความจำ หรือบทนำ เพื่อชักชวนให้ผู้อ่านติดตามเรื่องที่จะเขียนต่อไป หรือเพื่อให้ผู้อ่านทราบหรือรู้ภาพรวมของสิ่งที่จะอ่านต่อไป
             &n bsp;     ๒. ส่วนเนื้อหา ต้องอธิบายเรื่องที่โจทย์ถามให้ชัดเจน โดยยกตัวอย่างประกอบด้วย
             &n bsp;     ๓. ส่วนสรุป เป็นการสรุปยอดสิ่งที่ได้อธิบายมาข้างต้น
         
การตอบข้อสอบแบบอุทาหรณ์ (ตุ๊กตา) มี ๒ รูปแบบ คือ
             &n bsp;     ๑. การตอบข้อสอบแบบวางหลัก เป็นการอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้เสียก่อน แล้วจึงนำหลักกฎหมายมาปรับบทกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยหาคำตอบของปัญหา ดังนี้
          โจทย์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………
          คำตอบ
          จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณา รวม………. ประเด็น ดังนี้
             &n bsp;     ๑. ……………………………………………………………………………
             &n bsp;     ๒. …………………………………………………………………………..
          จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมาย………………………
ดังนี้
             &n bsp;     หลักที่ ๑ ………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
             &n bsp;     หลักที่ ๒ ………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………...
             &n bsp;     หลักที่ ๓ ………………………………………………………………………………………………………………………….
          จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ เมื่อปรับกับหลักกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้
             &n bsp;     กรณีที่ ๑ การที่……………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………
กรณีที่ ๒ การที่………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………
             &n bsp;    
          จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………..
(ถ้าโจทย์มีหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา ให้แยกแต่ละประเด็นให้ชัดเจน แล้วจึงสรุป)

กล่าวโดยสรุป คือ ส่วนสำคัญในการตอบข้อสอบแบบตุ๊กตา จะประกอบไปด้วย ๔ ส่วน ดังนี้
·       ส่วนแรก คือ การกำหนดประเด็น ซึ่งได้จากการอ่านโจทย์ แล้วแยกแยะสิ่งที่โจทย์
ต้องการให้ตอบ เพื่อจะได้ตอบให้ครบถ้วน ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้”

·       ส่วนที่สอง คือ การวางหลักกฎหมาย เมื่อกำหนดประเด็นแล้วก็ต้องแยกตอบตาม
ประเด็นต่างๆ โดยในประเด็นใหญ่นั้นต้องมีการยกหลักกฎหมายขึ้นมาอธิบาย ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากประเด็นปัญหาข้างต้น มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้”

·       ส่วนที่สาม คือ การปรับบทกฎหมายกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยว่า กรณีนั้นๆ ผลจะออกมา
เป็นประการใด เมื่อกำหนดประเด็นแล้วก็ต้องมีการปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง โดยเป็นการพิจารณาว่าตามข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้มานั้น เมื่อนำกฎหมายมาใช้แล้ว ผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้าด้วยถ้อยคำว่า

“จากข้อเท็จจริงในประเด็นที่กำหนด ประกอบกับหลักกฎหมายที่ยกมาข้างต้น
วินิจฉัยได้ว่า”

·       ส่วนที่สี่ คือ สรุป ส่วนนี้ต้องตอบคำถามของประเด็นที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งในส่วนนี้อาจขึ้นต้นย่อหน้า
ด้วยถ้อยคำว่า

“จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า”

          ๒. การตอบข้อสอบแบบวินิจฉัย คือ การตอบที่ไม่ต้องวางหลักกฎหมายแยกต่างหากจากส่วนปรับบทกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการนำส่วนที่สองและส่วนที่สามของการตอบแบบวางหลักมาผสมผสานกัน โดยมีการอธิบายหลักกฎหมายสอดแทรกเข้าไปในการวินิจฉัย

ตัวอย่างเช่น

          การที่……………………………………………………………………………………….นั้น ประมวลกฎหมาย………………..
วางหลักว่า…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
กรณีนี้……………………………………………………………………………… ดังนั้น ……………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………….

---------------

หมายเหตุ   ๑.    คัดลอกและสรุปข้อความบางส่วนจากหนังสือ การศึกษากฎหมายและการตอบ
             &n bsp;     ข้อสอบกฎหมาย (สำหรับผู้เริ่มต้น) ของ รองศาสตราจารย์ มานิตย์  จุมปา
             &n bsp;     คณะนิติศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ๒. ผู้สนใจในรายละเอียดเพิ่มเติมหาดูได้ใน มานิตย์  จุมปา, การศึกษากฎหมายและ
             &n bsp;     การตอบข้อสอบกฎหมาย (สำหรับผู้เริ่มต้น), พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : นิติธรรม,
             &n bsp;     ๒๕๔๘. ๒๗๔ หน้า

ที่มา http://www.meeboard.com/view.asp?user=nitiram_50&groupid=6&rid=3&qid=3

จบนิติศาสตร์แล้วไปทำอะไร???

เรียนจบนิติศาสตร์แล้ว ไปทำอะไรได้บ้าง ที่รู้มาก็คือ ทนาย อัยการ ศาล ที่ปรึกษากฏหมาย และการที่จะเป็น ศาลได้นั้นยากไหมครับ ต้องทำอย่างไรบ้าง จำเป็นต้องทำงานเป็นทนายก่อนไหมครับ
แล้วแนวโน้มในปัจจุบันนี้ควรเลือกเรียนนิติศาสตร์ สาขาไหน ดีกว่ากัน
ขอบคุณครับ

การที่จะเป็นผู้พิพากษาได้นั้น เบื้องต้น
1. ต้องจบป.ตรีนิติ
2. จบเนติบัณฑิต คือสอบเนฯผ่านได้เป็นเนติบัณฑิต เรียนที่เนติบัณฎิตยสภา บางแค ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 1 ปีแบ่งเป็น 2 เทอม เทอมละ 2 วิชา รวมเป็น 4 วิชาหลัก คือ แพ่ง อาญา วิแพ่ง วิอาญา ต้องสอบให้ผ่านทุกตัว อาจจะแบ่งเก็บได้ ทยอยสอบทีละตัว 2 ตัวก็ได้ คนที่มีเวลาเรียนมากและเก่งๆหน่อยก็จะผ่านได้ในปีเดียว คนที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยก็อาจใช้เวลาหน่อย 2 ปีหรือหลายๆปี ในการเก็บให้หมดทุกตัว

3. ผู้พิพากษามีสอบ 2 สนามหลักๆ คือสนามใหญ่ กับสนามเล็ก
3.1 สนามใหญ่ มีคุณสมบัติหลักคือ
จบ ป.ตรีนิติ จบเนฯ เก็บคดี 20 คดี(ทนาย) หรือทำงานราชการสายกม. 2 ปี
3.2 สนามเล็ก จบป.โทนิติ จบเนฯ เก็บคดี 10 คดีหรือทำงานราชการสายกม. 1 ปี
ดังนั้นคนที่สอบสนามเล็กจะมีสิทธิสอบสนามใหญ่ด้วยในตัว

ปีนึงเปิดสอบสนามละ 1 ครั้ง

นิติศาสตร์มีสาขาหรือไม่....โดยหลักแล้วในระดับป.ตรีจะไม่มีสาขา เกือบทุกมหาลัยเรียนรวมๆ แต่อาจจะเลือกวิชาเลือกที่เราชอบเป็นพิเศษได้ แต่จะมีเฉพาะจุฬาที่แบ่งสายเรียน เช่นสายเอกชน สายระหว่างประเทศ

ฉะนั้น ถ้ากล่าวโดยรวมแล้ว ไม่มีสาขาให้เลือกเรียนเป็นพิเศษ เว้นแต่ไปต่อป.โท อาจจะไปแยกสาขาเป็น เอกชน มหาชน ระหว่างประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญา ภาษี
ที่มา  http://www.vcharkarn.com/vcafe/20701

การเรียนกฎหมาย



 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=gjg6-S_4QnE



การเรียนกฎหมาย
ประการแรกคงต้องแสดงความยินดีด้วยที่ท่านตัดสินใจเรียนกฎหมาย และอาจารย์ ก็ดีใจมากๆค่ะ
อุปกรณ์สำคัญ
ก่อนจะเริ่มเรียนนะคะ สิ่งที่จำเป็นที่สุด สำหรับ การเรียนกฎหมาย ก็คือ ตัวบทกฎหมาย หรือที่เขาเรียกว่า ประมวลกฎหมายนั่นล่ะค่ะ ประมวลกฎหมาย ที่ต้องใช้ขณะนี้ ก็คือ ประมวล กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ (ปพพ.) ควรเป็น ฉบับที่พิมพ์รวมกับ ประมวลกฎหมายอาญา (ปอ.) ด้วย ขาดไม่ได้เลยค่ะ ซื้อไว้ไม่เสียหลายค่ะ เพราะ ถ้าเผื่อขี้เกียจเรียนต่อไป (ล้อเล่น) ยังไงก็ ใช้ได้อยู่แล้ว ประชาชนคนไทย ต้องรู้กฎหมายนะคะ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ส่วนประมวล กฎหมายฉบับอื่น ยังไม่ต้องรีบซื้อ ไม่ใช่ว่า กลัวว่า ท่านจะ เรียยนไม่จบนะคะ แต่กฎหมายฉบับอื่น เช่น กฎหมาย วิธีพิจารณาความทั้งหลาย มักจะแก้ไขบ่อย ซื้อไปไม่นาน ก็อาจจะต้อง ซื้อใหม่อีกแล้ว
ตัวช่วย
นอกจากนี้ก็มีตัวช่วย (แค่ตัวช่วยนะคะ) ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ก็คือ วารสารกฎหมาย สุโขทัยธรรมาธิราช ฉบับพิเศษ เล่ม 1 และ เล่ม 2 เหตุผล ก็คือ วารสารทั้ง 2 ฉบับ จะเน้น การแนะนำ การเรียนนิติศาสตร์ โดยเฉพาะ การตอบข้อสอบอัตนัย ซึ่งเป็นสาระสำคัญ ของการเรียนกฎหมายเลยค่ะ สิ่งที่จะได้รับจาก วารสารดังกล่าวโดยตรงคือ 1.วิธีการตอบข้อสอบอัตนัย 2.ประเด็นที่ มักจะออกข้อสอบอัตนัยค่ะ แต่ไม่ซื้อหาก็ไม่ว่ากัน อย่างที่บอกน่ะค่ะว่า มันแค่ตัวช่วย
ลักษณะชุดวิชา
ทีนี้ก็มาเริ่มที่ชุดวิชาเลยค่ะ ในแต่ละ ภาคการศึกษา นักศึกษาจะเลือก ลงทะเบียนเรียน ได้ไม่เกิน 3 ชุดวิชา (อย่าเพิ่งทำหน้าเศร้า) แต่ชุดวิชาของ มสธ.จะหนามาก เพราะแต่ละชุดจะมีหน่วยกิต ถึง 6 หน่วยกิตนะคะ และรวมวิชาย่อย ของมหาวิทยาลัยอื่นไว้หลายวิชา เช่น กฎหมายแพ่ง2 ของมสธ.จะประกอบด้วย วิชาหนี้1 หนี้2 และละเมิด (อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งหนาวนะคะ) ความหนาของหนังสือ ประมาณเล่มละ 1 นิ้วเศษ หรือประมาณ 400 หน้า จำนวนชุดละ 2 เล่มค่ะ อ่านกันสนุกสนานรื่นรมณ์ พอสมควร ถ้าท่านลงเกิน 3 ชุด อาจอ่านหนังสือไม่ทัน แต่อย่างไรก็ดี วิธีลัด สำหรับท่านที่ มีความจำเป็น ต้องเรียนจบแบบเร่งด่วน ก็อาจใช้วิธี ลงทะเบียน เรียนหลักสูตร สัมฤทธิบัตรเสริม ซึ่งใช้ข้อสอบชุดเดียวกันกับ ข้อสอบในหลักสูตรปกติ และลงได้ไม่เกินภาคการศึกษาละ 1 ชุด สอบผ่านแล้ว ก็สามารถโอนเข้า หลักสูตรปกติได้ค่ะ แต่ท่านที่ไม่ค่อยมีเวลา อาจารย์ไม่แนะนำ เสียดายเงินค่ะ นอกจากนี้ มสธ.ก็มี ภาคพิเศษด้วยนะคะ ภาคพิเศษลงเพิ่มได้อีก 1 ชุดค่ะ สรุปแล้ว การเรียนหลักสูตรปกติ ก็จะลงทะเบียนได้ ปีการศึกษาละ 7 ชุด ถ้าเพิ่มสัมฤทธิบัตตร ก็เป็น 9 ชุด ขอให้เลือกลงทะเบียน ตามความสามารถ และกำลังใจ และความจำเป็น และปัจจัยอื่นๆค่ะ
การลงทะเบียนภาคแรก
สำหรับภาคการศึกษาแรก คงจะต้องลงทะเบียน 3 ชุดวิชา คือ
วิชากฎหมายเบื้องต้น วิชานี้จะเป็นข้อสอบ ปรนัยทั้งหมด ไม่มีอัตนัย ข้อสอบปรนับจะมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก จำนวนข้อสอบ 120 ข้อ โดยข้อสอบ จะออกทุกหน่วย (หนังสือทั่วไป เรียกว่าบท แต่ มสธ.เรียกว่าหน่วยค่ะ) หน่วยละ 8 ข้อ สอบซ่อมจะมี 100 ข้อ (น้อยกว่าสอบไล่)
วิชากฎหมายแพ่ง1
วิชากฎหมายอาญา1
ทั้ง กฎหมายแพ่ง1 และ กฎหมายอาญา1 จะมีข้อสอบปรนัย 60 ข้อ ออกข้อสอบจากทุกหน่วยๆละ 4 ข้อ และข้อสอบอัตนัยวิชาละ 3 ข้อๆละ 20 คะแนน รวม 60 คะแนน แล้วนำไปรวมกับปรนัย 120 คะแนน เสร็จแล้ว นำมาคำนวณเป็นร้อยละอีกที ข้อสอบอัตนัย มักจะออกจาก หน่วยเน้น โดยนักศึกษา สามารถโทร.ถาม หน่วยเน้นได้ที่ สาขาวิชานิติศาสตตร์ 025033602 (แต่โทร.ยาก เพราะผู้ใช้บริการจำนวนมาก) ในขณะเดียวกัน สาขาวิชาก็ จะแจ้งให้อาจารย์ ที่ไปสอนเสริมทราบ ไม่ส่งข้อมูลให้นักศึกษาโดยตรง (กลัวไม่มีใครไปเรียน)
วิธีการอ่านหนังสือ
ก่อนอ่านเอกสารการสอนชุด กฎหมายแพ่ง1 กับกฎหมายอาญา1 (อ่านกฎหมายเบื้องต้นก่อนได้) ขอให้นักศึกษา อ่านวารสารฉบับพิเศษก่อน (ถ้ามี) โดยเฉพาะตัวอย่างคำถามในวิชา แพ่ง1 และอาญา1 จะได้รู้แนวว่าปกติ เขาออกข้อสอบ ในประเด็นไหน เวลาอ่านหนังสือ จะได้จับประเด็นถูก
ขอแนะนำว่า ควรอ่านที่ละวิชานะจะได้ต่อเนื่อง และ ควรอ่านกฎหมายเบื้องต้นก่อน เสร็จแล้ว จึงอ่านกฎหมายแพ่ง 1 สุดท้ายค่อยมาอ่าน กฎหมายอาญา1 และนักศึกษาต้องจำไว้เสมอว่า กฎหมายแพ่งไม่มีโทษจำคุกหรือปรับ มีแต่เรียกค่าเสียหาย หรือสิทธิเรียกร้องธรรมดา (นักศึกษาบางคน อ่านอาญาก่อน แล้วสับสนว่า ผิดสัญญาจะติดคุกมั๊ย)
ก่อนจะอ่านหน่วยไหนนะคะ ควรจะดูคร่าวๆว่าหน่วยนั้นๆ อธิบายมาตราอะไรบ้าง ทั้งที่เป็นหัวข้อ และมาตราต่อเนื่อง แล้วโน้ตเลขมาตราไว้ ต่อมา จึงอ่านตัวบท ในมาตรานั้นก่อน แล้วจึงค่อยมาอ่านคำอธิบาย จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
เวลาอ่านคำอธิบายนะคะ เมื่อมีประเด็นไหนสำคัญ (โดยเฉพาะประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับ ข้อสอบอัตนัย) ขอให้จดโน้ตสั้นๆไว้ในประมวล แต่ควรจดด้วยดินสอ เผื่อว่าในอนาคต เห็นว่ามันไม่สำคัญ จะได้ลบออกได้ และขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ประมวลกฎหมาย ทุกฉบับจะ อยู่กับเราไปอีกนาน และมันจะมีค่า ก็ตรงข้อความ ที่เราจดลงไป โดยเฉพาะ (โดยเฉพาะอีกแล้ว) แนวฎีกา ซึ่งจะเป็น ตัวขยาย ความหมายของ ข้อความในกฎหมาย และใช้มาก ในกฎหมาย วิธีพิจารณา และกฎหมายอาญา เช่น ก.ใช้มีดฟัน ข. ถ้าฟันที่หัว ฟันที่คอ แทงที่หัวใจ แทงที่หน้าอก ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ เป็นกรณี ก.มีเจตนาฆ่า แต่ถ้า ก.ฟันที่แขน แทงที่ขา แทงเสร็จแล้ววิ่งหนีไปเลย เป็นกรณีเจตนาทำร้ายเฉยๆ ไม่มีเจตนาฆ่า (โทษเบากว่ากันเยอะ) เหตุที่เราต้องจด ฎีกาไว้ เพราะตัวจะ บทเขียนไว้สั้นๆ อ่านตัวบท เพียงอย่างเดียว เราก็จะตีความต่างกัน เช่น ก.แทงที่คอ ก.ก็จะอ้างว่าไม่มีเจตนาฆ่าเพราะ ข.มันไม่ตาย ส่วน ข.ก็จะบอกว่า ก.มีเจตนาฆ่าเพราะตนเกือบตาย ก็เลยต้องใช้แนวของ ศาลฎีกามาปรับ แต่อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดี ของศาลก็จะฟังจาก พยานหลักฐานในแต่ละคดี ประกอบกัน เช่น ก.แทงที่คอก็จริง แต่แทงโดยไม่มีโอกาสเลือก ว่าจะแทงที่ไหน แทงไปเพื่อให้ ข.หยุดทำร้ายตน เป็นต้น (มีแค่ต้น ไม่มีใบและดอกนะตัวเอง อย่า ซีเรียส)
เวลาอ่านหนังสือ ขอให้ทำชาร์ทไว้นะคะ จะช่วยให้เราจำง่ายขึ้น ชาร์ทของเรา ไม่จำเป็น ต้องเหมือนกับคนอื่น ขอเพียง เราเข้าใจก็พอค่ะ
สุดท้ายนะคะ คือการจำตัวบทกฎหมาย ขอให้เลือกมาตราสำคัญๆ (เลือกจาก ตัวอย่างข้อสอบเก่า และคำอธิบาย ในเอกสารการสอน บางมาตราอธิบายแล้ว อธิบายอีก หรือโยงไป มาตราอื่นๆอีกมากมาย เช่น ปอ.มาตรา 59 สำคัญสุดๆๆๆ) แล้วจำหลัก ของมาตรานั้นๆ (จากชาร์ทที่เราทำไว้ ) เมื่อจำหลักได้ ค่อยมาจำตัวบท อาจารย์ไม่แนะนำ ให้ท่องตัวบท เพราะจำพลาด หรือถ้าหลุดไปประโยคหนึ่ง ก็จะหยุดไปเป็นวรรคเลย และ อย่าท่องเป็น นกแก้วนกขุนทอง ต้องจำหลัก และใช้ให้เป็นด้วย คิกซะว่า ตัวเราเป็นหมอ กำลังจำสูตรยา จำผิด คนไข้ก็ตาย เหตุที่ต้องจำตัวบท 1.ตัวบทกฎหมายคือเหตุผลของคำวินิจฉัยของเรา 2.เวลาสอบ ในระดับปริญญาตรี ตัวบทจะมีคะแนน ต่างหากจาก คำวินิจฉัยและธงคำตอบ ดังนั้นเวลาตอบ ข้อสอบอัตนัย ควรย่อหน้าและอาจใช้คำทำนองว่า "เรื่อง .... มีหลักดังนี้" หรือ "มีหลักว่า" อย่าใช้คำว่า "บัญญัติว่า" เพราะถ้า บัญญัติว่า คือเราต้องเขียนตัวบท 100% ทีนี้เวลาเขียนหลักกฎหมาย ไม่ต้องใส่เลขมาตราก็ได้ แต่พยายามใช้สำนวนที่ใกล้เคียงกับตัวบทมากที่สุด ไม่ต้องทุกคำ แม้ว่า การจำตัวบทได้ทุกคำ จะได้คะแนน 10 คะแนน แต่ถ้าผิดเพี้ยนไปบ้าง ก็ได้คะแนน เฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ ตามแต่ใจความ จะเหลืออะไรให้ อาจารย์ผู้ตรวจ ให้คะแนน ปกติอาจารย์จะไม่ท่องตัวบท เอาแค่จำหลักๆ เพื่อเก็บสมองไว้จำมาตราอื่นๆ ที่เราต้องจำอีกมากมายและตลอดไปเลยล่ะ
ที่มา http://www.thailandroad.com/chaninat/studylaw.htm