นิดนึงค่ะ

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

 อันตรายจากยาแก้ไข้หวัด.....หรือซูโดเอฟิดรีน
      ข่าวการจับกุมยาเสพติดเป็นประจำแทบทุกวัน ไม่น่าเชื่อว่ายาแก้ไข้หวัดคัดจมูกที่ขายกันอยู่ทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายในร้านขายยาทั่วประเทศ และเป็นที่หมายปองของแก๊งค์ยาเสพติด เพราะมีส่วนผสมของยา     ในตระกูลซูโดเอฟิดรีน (Pseudoephednine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต “ไอซ์” ยาเสพติดราคาแพงของเล่นของนักท่องราตรีคนมีเงิน
     นายแพทย์ พิพัฒน์  ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับกุมผู้ต้องหาค้าไอซ์ย่านรามคำแหง พบว่ามีการกว้านซื้อยาแก้หวัด เช่น ชูลิดีน บรอมเฟต แอคติเฟด  สูโดฟรีน เป็นต้น เพื่อนำไปสกัดเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด ตัวยาที่ปรากฎตามข่าวตระกูลซูโดเอฟิดรีน (Pseudoephednine) จะเป็นตัวยาที่มีส่วนประกอบสามารถนำไปผลิตยาเสพติดได้ โดยจะมีส่วนผสมใน 3 สูตรคือ สูโดเอฟฟิดรีนกับไตรโพรลิดีน สูโดเอฟฟิดรีนกับคลอเฟนิรามีนและ สูโดเอฟฟิดรีนกับ บลอมเฟนิรามีน เป็นกลุ่มยาที่ลดอาการคัดจมูก น้ำมูก ยาแก้แพ้ ซึ่งโดยปกติแล้วทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะมีการควบคุมการขายยาแก้หวัด คัดจมูก ที่มีส่วนผสมของ 3 สูตรนี้อยู่แล้ว เพราะทราบดีว่า    ยาสูตรดังกล่าวสามารถนำไปผลิตเป็นยาเสพติดได้ และจะออกประกาศควบคุมการจำหน่ายยาที่มีส่วนผสมทั้ง    3 สูตรให้เข้มงวดมากขึ้น 
     สำหรับความผิดเกี่ยวกับการครอบครอง คนซื้อและคนขายยาแก้ไข้หวัดหากมีจำนวนมากถือเป็นความผิดเพราะตามกฎหมาย สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถซื้อยาในตระกูลซูโดเอฟิดรีน ได้ครั้งละไม่เกิน 6 แผงหรือ 60 เม็ด หากซื้อเกินจะมีความผิดฐานครอบครองและจำหน่ายยาเสพติดประเภท 2 มีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี ส่วนร้านขายยาไม่เกินเดือนละ 5,000 เม็ดต่อร้านต่อเดือน หากขายเกินกำหนดก็มีความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับพ.ร.บ.ยา
     การแก้ปัญหาอยู่ที่การควบคุมการซื้อขาย จะต้องทำความเข้าใจกับร้านขายยา และบริษัทผู้ผลิต   ยาประเภทนี้  เพราะยากลุ่มนี้การสั่งซื้อต้องสั่งซื้อผ่านคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.เท่านั้น ส่วนผู้ที่นำเข้าจากต่างประเทศก็จะถูกพักใบอนุญาตการนำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้มีผู้นำยาไปใช้ในทางที่ผิด
     อย่างไรก็ตามหากใครพบเห็นการซื้อขายยาประเภทนี้ผิดสังเกตสามารถแจ้งไปที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หมายเลข 1556 หรือ สำนักงาน ป.ป.ส. หมายเลข 1386
                  ชิวิตพังพินาศ    หากพลั้งพลาดไปติดยา
ที่มา http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1078:2555-02-13-03-%M-%S&catid=173:-2554&Itemid=229

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น